MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

จังหวัดสกลนคร

ตำนาน ปราสาทพระธาตุภูเพ็ก

สถานที่ตั้ง ตำบลนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม จังหวัดสกลนคร
ภูมิหลัง
.................ปราสาทพระธาตุภูเพ็กเป็นปราสาทหลังใหญ่ที่สร้างบนเทือกเขาภูพานตั้งอยู่บนยอดเขาที่เรียกว่า "ดอยคูหาหรือดอยเพ็ก" มีบาราย ๒ แห่ง นับเป็นศาสนาสถานทีสำคัญ ถ้าปราสาทพนมรุ้ง เป็นศาสนาสถานขนาดใหญ่ของอีสานใต้ที่อยู่บนเทือกเขา ปราสาทพระธาตุภูเพ็กก็จัดว่าเป็นโบราณสถานขนาดใหญ่บนภูเขา
หลังเดียวของอีสานเหนือ ปราสาทหลังนี้สามารถเดินทางเข้าชมได้หลายเส้นทาง เส้นทางที่สะดวกคือ เส้นทางสายสกลนคร - พรรณานิคม ห่างจากสกลนคร ๒๑ กม. จะถึงหมู่บ้านหนองเม็กซึ่งตั้งอยู่เหนือบ้านดงมะไฟเล็กน้อย จากทางแยกริมทางหลวงจะเดินทางผ่านหมู่บ้านหนองเม็ก นาหัวบ่อ บ้านนากลาง บ้านหนองดินดำ จึงเข้าถึงบริเวณ
อ่างเก็บน้ำภูเพ็ก จากนั้นก็เดินทางเลาะไหล่เขาซึ่งในปัจจุบันสามารถนำรถยนต์ขึ้นไปถึงเชิงบันได ซึ่งจะต้อง เดินทางเท้าขึ้นไปสู่ยอดเขาตามบันไดคอนกรีตประมาณเกือบ ๕๐๐ ขั้น แต่ผู้สร้างบันไดทำราวบันไดและทำที่ พักเป็นระยะ ทำให้คลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าลงไปได้บ้าง นอกจากเส้นทางนี้แล้ว ยังมีเส้นทางอื่น ๆ ที่สามารถปีนเขาแต่ส่วนมากเป็นทางลาดชันไม่เหมาะแก่ นักท่องเที่ยวจึงไม่ขอแนะนำ
ลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรม
.................ปราสาทแห่งนี้ก่อด้วยหินแกรนิต เรือนธาตุตั้งอยู่บนฐานยกสูง ตอนหน้าของปราสาท มีฐานหินเป็นก้อนเรียงซ้อน ๆ กัน ยื่นออกคล้ายกากบาทสูงกว่าฐานของเรือนฐานเล็กน้อย ตัวเรือนธาตุทั้งสี่ด้านย่อมุม ๆ ละ ๕ เหลี่ยม รวมเป็น ๒๐ เหลี่ยม ความกว้างของปราสาทโดยรอบกว้างด้านละ ๑๑ เมตร มีชานเป็นพื้นที่กว้างพอสมควร ความสูงจากพื้นดินถึงฐานชั้นที่ ๑ สูง ๑.๕๘ เมตร จากฐานชั้นที่ ๑ ถึงฐานชั้นที่ ๒ สูง .๗๐ เมตร ตัวเรือนปราสาททั้ง ๓ ด้าน คือ ทิศเหนือ ทิศใต้ และทิศตะวันตก หน้าอาคารปราสาทหันไปทางทิศตะวันออก
ความเชื่อตามตำนานอุรังคธาตุ
..................คนโบราณจำนวนมากเชื่อว่าโบราณสถานแห่งนี้เกี่ยวพันกับพุทธศาสนามาโดยตลอดถึง ๔ ช่วงสมัย สมัยที่ ๑ กล่าวถึงพระพุทธเจ้าเสด็จมาบริเวณที่เรียกว่า "ดอยแท่น" หลังจากที่ได้ทรงเทศนาธรรมแก่พระสุวรรณภิงคารแล้ว สมัยที่ ๒ หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วบรรดาชาวเมืองหนองหานหลวง และ
เมืองหนองหานน้อยก่ออุโมงแข่งขันกัน อุโมงเมืองหนองหานน้อย คือ องค์พระธาตุภูเพ็กแห่งนี้ สมัยที่ ๓ พระมหากัสสัปะนำพระอรหันต์ ๕๐๐ รูป ได้นำอุรังคธาตุประดิษฐานที่ดอยแท่นก่อนแยกย้ายไปบิณฑบาต ในเมืองหนองหานหลวง หนองหานน้อย และสมัยที่ ๔ คือ สมัยหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานไปได้ ๕๐๐ ปี
ท้าวพระยาและฤาษี ๒ ตน คือ อมรฤาษีและโบธิกฤาษี ได้นำก้อนหินที่ดอยแท่นไปร่วมปฏิสังขรณ์พระธาตุ พนมดอยภูกำพร้า ความเชื่อดังกล่าว ทำให้เกิดการเชื่อมโยง อธิบายสถานที่สำคัญ ๆ เช่น
๑. แค้นแท้ เป็นบริเวณลานหินขนาดกว้างอยู่ห่างจากตัวปราสาท ไปทางทิศตะวันตกสุดขอบไหล่เขาที่ ตั้งตัวปราสาท บริเวณแห่งนี้มีทั้งก้อนหิน ที่ถูกเครื่องมือโบราณสกัดขาดแล้วเป็นก้อนขนาดใหญ่รอการเคลื่อนย้าย และที่อยู่ระหว่างสกัดเห็นเป็นร่อง ๆ จำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าช่างผู้สร้างปราสาทแห่งนี้มิได้นำก้อน
ิลามาจากเชิงเขาแต่อย่างใด แต่หากสกัดหินจากยอดเขาแห่งนี้ด้วยความพยายาม ที่เรียกบริเวณนี้ว่า "แค้นแท้" เพราะผู้สกัดหินถูกเพื่อน ๆ หลอกลวงว่าอุโมงของสตรีที่หนองหานหลวงสร้างเสร็จแล้ว ดาวเพ็กขึ้น แล้วให้วางมือจากการก่อสร้าง ต่อเมื่อรู้ว่าเสียรู้สตรีจึงมีแต่ความแค้นในอก
๒. ลานเพ็กมุสา เป็นลานหินเล็ก ๆ อยู่เชิงเขาไม่ห่างจากบันไดทางขวามือ หรืออยู่ทางทิศเหนือของ สระแก้ว บริเวณนี้เชื่อว่า บรรดาชายหนุ่มเห็นดาวเพ็ก ที่ฝ่ายหญิงประดิษฐ์เป็นโคมไฟชักขึ้นไว้เหนือยอดไม้ คล้ายดาวประกายพฤกษ์เช้ามืดที่ขึ้นขอบฟ้า
๓. สระแก้ว มีอยู่ ๒ แห่ง คือสระที่อยู่ด้านทิศเหนือห่างจากพระธาตุหรืออาคารปราสาท ๑๖ เมตร อยู่ ติดกับบริเวณลานหลังเขา ๒ เมตร สระอีกแห่งหนึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ห่างจากปราสาท ๓๐ เมตร สระทั้งสองแห่งกว้าง ๑๕ เมตร ยาว ๒๐ เมตร น้ำในสระแก้วทิศเหนือไม่แห้ง ถือว่าเป็นสระน้ำศักดิ์สิทธิ์ ในบริเวณยอดภูเพ็กยังมีถ้ำต่าง ๆ อีกหลายแห่งเหมาะสำหรับนักท่องเที่ยวที่ชอบเผชิญภัย เช่น ถ้ำพลวง ถ้ำเปือย ถ้ำกบงา ถ้ำซาววา ถ้ำเยือง เป็นต้น