MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

จังหวัดตรัง

ตำนานวัดถ้ำพระพุทธ


สถานที่ตั้ง เลขที่ ๕/๑ บ้านถ้ำพระ หมู่ที่ ๖ ตำบลหนองบัว อำเภอรัษฎา จังหวัดตรัง สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินทั้งวัดเนื้อที่ ๘๔ ไร่
ประวัติความเป็นมา
...........วัดถ้ำพระพุทธนี้เดิมชื่อว
่าวัดถ้ำพระ ซึ่งสร้างไว้เมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๗๔ โดยพ่อท่านฉวางหวาง สาเหตุที่สร้างวัดก็เพราะ บริเวณนี้ได้มีพระพุทธไสยาสน์อยู่ก่อนแล้ว และต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๔ จึงได้เปลี่ยน ชื่อเป็นวัดถ้ำพระพุทธ เพราะทางราชการเห็นว่าถ้ำพระมีมากแห่งและเห็นว่าวัดนี้มีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ หลายองค์ กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานสำหรับชาติ แต่ตามตำนานที่เล่าขานกันต่อมาว่า เมื่อครั้งพระเจ้าศรีธรรมได้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ที่เมืองนครศรี
ธรรมราชนั้น ได้แจ้งไปยังหัวเมืองขึ้นต่าง ๆ ด้วย เมื่อทราบข่าวพระนางเลือดขาวมเหสีแห่งเมืองพัทลุงก็ได้ ระดมทรัพย์สินต่าง ๆ ไปร่วมบรรจุในองค์พระบรมธาตุด้วย แต่ในขณะเดินทางทราบว่าการก่อสร้างพระบรม ธาตุเสร็จแล้ว คณะนางเลือดขาวจึงได้นำสิ่งของต่าง ๆ บรรจุไว้ในถ้ำแล้วสร้างพระพุทธไสยาสน์ปิดปากถ้ำไว้
ด้วย
ความสำคัญต่อชุมชน
............วัดถ้ำพระพุทธ เป็นวัดโบราณที่มีโบราณวัตถุมากที่สุด มีพระพุทธไสยาสน์ และพระเวียงปางต่าง ๆ เป็นที่เคารพสักการะของพุทธศาสนิกชนทั้งใกล้และไกล มาตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
๑. สภาพทั่วไป
เป็นวัดซึ่งมีอาณาบริเวณอยู่ในแวดล้อมของภูเขาที่โอบอ้อมเข้ามาเกือบทุกด้าน ลักษณะเป็นภูเขาหิน ปูนและหินแกรนิต ตรงบริเวณเชิงเขาโดยรอบ พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบสูง ล้อมรอบด้วยภูเขาสามด้าน มีคลองอยู่หน้าวัด ทางทิศตะวันออก มีอาคาร เสนาสนะต่าง ๆ มีอุโบสถกว้าง ๑ เมตร ยาว ๑๘ เมตร สร้าง พ.ศ. ๒๔๖๖ โครงสร้างเสาคอนกรีต หลังคามุง กระเบื้อง กุฏิสงฆ์จำนวน ๒ หลัง โครงสร้างเป็นอาคารไม้เสาคอนกรีต หลังคามุงสังกะสี
๒. พระพุทธไสยาสน์ ประดิษฐานอยู่ตรงเชิงผาเบื้องสูงเหนือระดับสายตา หันพระ-พักตร์ไปยังทิศ ตะวันออกเฉียงเหนือ ฐานพระพุทธไสยาสน์ยาวประมาณ ๓๐ เมตร การขึ้นไปยังถ้ำพระพุทธ ต้องขึ้นทาง บันไดหิน เป็นทางค่อนข้างชัน
๓. ฐานพระพุทธไสยาสน์ รองรับด้วยช้างปูนปั้นตัวเล็ก ๆ อยู่ในช่อง ๙ ตัว ปัจจุบันได้มีการสร้างหลังคา ครอบพระพุทธไสยาสน์
๔. พระเวียงปางต่าง ๆ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นทรงเครื่องประดิษฐานทั้งบริเวณด้านทิศเหนือและทิศใต้ ของพระพุทธไสยาสน์ บางองค์ชำรุด สังเกตจากเครื่องทรงของพระพุทธรูปปูนปั้นจะพบว่าองค์พระมีลักษณะ เป็นฝีมือพื้นเมือง เปลือกพระเนตรวางมุมเปลือกหอยเอาไว้ด้วย เครื่องทรงที่ประดับพระเศียรด้วยเทริดคล้าย กับเครื่องโนราของภาคใต้มาก บางส่วนของเครื่องทรงเสริมด้วยกระจกสี
๕. สถูปจำลอง เป็นศิลปกรรมที่สร้างขึ้นโดยสกุลช่างภาคใต้แคว้นนครศรีธรรมราชร่วมสมัยอยุธยา
๖. สมุดข่อย สมัยรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๕๐ มีสมุดข่อยขาวหลายเล่ม จารึกด้วยอักษรขอม-ไทย และอักษรไทยปัจจุบัน จารึกเรื่องพระอภิธรรม และเรื่องชาดกต่าง ๆ เล่มที่มีอายุมากที่สุดในจำนวนทั้งหมด ทำให้พอจะสืบหาอายุของวัดถ้ำพระพุทธได้ ดังปรากฏความตอนหนึ่งว่า "เขียนจบ ณ วันสุก ๖ฯ๓๙ ค่ำ ปีเถาะนพศก พระพุทธศักราชลวงแล้วใด ๒๓๕๐ พระวสาเสดเดือนใด เดือนสาม..." แปลความว่า เขียนจบเมื่อวันศุกร์ แรม ๓ ค่ำ เดือน ๙ จุลศักราช ๑๑๖๙ พระพุทธศักราชล่วงแล้วได้
๒๓๕๐ พรรษา
๗. ถ้วยชามสมัยรัตนโกสินทร์ เครื่องลายคราม เครื่องถมทองและเครื่องปั้นดินเผา เช่น โอ่ง พาน ซึ่ง เจ้าอาวาสได้เก็บรวบรวมรักษาไว้ เป็นสมบัติของวัดถ้ำพระพุทธ
เส้นทางเข้าสู่วัดถ้ำพระพุทธ
.........จากตัวเมืองตรัง ใช้เส้นทางรถยนต์สายตรัง-ห้วยยอด-รัษฎา ระยะทางจากห้วยยอดประมาณ ๔๐ กิโลเมตร จากอำเภอรัษฎามีทางรถยนต์ไปวัดถ้ำพระพุทธ ระยะทางประมาณ ๑๗ กว่ากิโลเมตร ถึงบ้านวัดถ้ำพระ วัดถ้ำพระพุทธ อยู่ติดต่อเขตบ้านน้ำตก อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช