MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

จังหวัดระนอง

ชื่อ ตำนานถ้ำพระขยางค์

.................มีตำนานเล่าว่า นายแก้วชาวเมืองนครศรีธรรมราช เป็นนายบ้านอยู่ที่ตำบลปากจั่นในปัจจุบัน จากการจับเต่ากระสีทอง ไปถวายเจ้าเมืองชุมพรซึ่งนำไปถวายพระเจ้าอยู่หัวอีกต่อหนึ่ง ทำให้นายแก้วได้รับความดี ความชอบ พระทานบรรดาศักดิ์เป็นพระแก้วโกรพ เจ้าเมืองตระหรือเมืองกระ พระแก้วโกรพได้ส่งบุตรชายไป ศึกษาศิลปวิทยาที่เมืองนครศรีธรรมราช ด้วยหวังจะให้มาเป็นเจ้าเมืองสืบแทนตน ระหว่างนั้นนายแก้วได้ นางจันเป็นภรรยาอีกคนหนึ่ง เมื่อนายทองบุตรชายกลับมา ได้ผูกสมัครรักใคร่ได้เสียกับนางจัน ความเกรงว่า บิดาจะทราบเรื่องจึงคิดทำปิตุฆาต แต่พระแก้วโกรพทราบก่อน จึงโกรธมาก สั่งจับบุตรชายใส่ขื่อคาไปฆ่าทิ้ง แต่นายทองสำเร็จวิชาอยู่ยงคงกะพันมา การเฆี่ยนตีหรือใช้อาวุธจึงไม่เป็นผล บิดาจึงสั่งจับบุตรชายขึ้น ขาหยั่ง โดยใช้ไม้ ๓ ต้นปักโคนทะแยงเป็นรูป ๓ มุม ปลายไม้ผูกติดกันไว้ แล้วให้เอาไปไว้ในถ้ำเขาแหลมเนียง ทรมานจนตายด้วยการอดอาหาร นางน้อยผู้เป็นมารดาได้พยายามหาช่องทางส่งอาหารไปให้แต่ก็ไม่เป็นผล อาจารย์ผู้ถ่ายทอดวิชาก็นำ ว่านจำนวนมากมาเพื่อช่วยเหลือ ก็ไม่ทันนายทองตายก่อนแล้ว
คติและแนวคิด
..................สาระสำคัญของตำนานเรื่องดังกล่าว คือเรื่องราวความขัดแย้งระหว่างบิดากับบุตรชายในเรื่องชู้สาว ที่บุตรชายและภรรยาน้อยของตนมีต่อกันจนขั้นคิดทำปิตุฆาต และได้รับการลงโทษจากบิดาอย่างโหดร้าย ในขณะเดียวความรัก และความห่วงใยของมารดาและอาจารย์ ที่มีต่อบุตรชายและลูกศิษย์ก็ทำให้บุคคลเหล่านั้น แสวงหาวิธีการช่วยเหลือ เรื่องราวที่ปรากฏในตำนานจะเป็นที่มาของชื่อสถานที่ต่าง ๆ ในจังหวัดระนอง และ พื้นที่ใกล้เคียง เช่น เขาหยาง ซึ่งสันนิษฐานว่าน่าจะมาจากคำว่า ขาหยั่งที่เพี้ยนมาเป็น พยาง และขยางค์ นอกจากนี้ยังมีชื่อคลองลำเลียง แม่น้ำน้อย เกาะโลงทอง คลองจั่น เกาะคนที เกาะใส่ยา เกาะผี เป็นต้น ส่วนคติและแนวคิดที่ได้รับจากตำนานเรื่องดังกล่าว ก็คือ ให้ควรระวังความใกล้ชิดกันระหว่าง หญิงชายซึ่งอาจนำไปสู่การผิดศีลธรรมได้ การสะท้อนถึงความรักของแม่ ที่มีต่อบุตรแม้ว่าบุตรจะกระทำผิด นอกจากนี้การเปลี่ยนใจมายึดมั่นในหลักปฏิบัติทางพระพุทธศาสนาของพระแก้วโกรพ ทำให้ได้รับการยอมรับ
นับถือจากสมาชิกในชุมชนยกย่องให้เป็นพ่อตาหลวงแก้ว