MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

จังหวัดพิจิตร

ประวัติ วัดนครชุม

สถานที่ตั้ง หมู่ ๘ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดพิจิตร
ประวัติความเป็นมา
.......................สร้างมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี ชาวบ้านเรียกว่า วัดใหญ่ เนื่องจากเคยเป็น ที่ทำพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา ชื่อวัดนครชุมหมายถึงเป็นที่ชุมนุมของผู้คน วิหารหลังเก่าเคยเป็นที่ประดิษฐาน หลวงพ่อเพชร พระสำคัญคู่เมืองพิจิตร ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่วัดท่าหลวง วิหารหลังเก่าได้ชำรุดปัจจุบัน สร้างขึ้นใหม่มีหลวงพ่อพันเป็นประธาน ภายหลังวัดนี้ได้รวมกับวัดเขมาภิรตารามซึ่งอยู่ติดกันและเป็นวัดร้าง ทำให้อุโบสถเก่าของวัดเขมาภิรตาราม ซึ่งเป็นศิลปะสมัยสุโขทัยกลายมาเป็นอุโบสถของวัดนครชุมในปัจจุบัน
ความสำคัญต่อชุมชน
........................ เป็นวัดเดียวในตัวเมืองพิจิตรเก่าที่มิใช่วัดร้าง ชาวบ้านได้ใช้เป็นสถานที่ทำบุญ
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
........................ อุโบสถที่เคยเป็นของวัดเขมาภิรตาราม สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยมีอายุไม่ต่ำกว่า ๘๐๐ ปี ลักษณะของผนังโบสถ์ ใช้เจาะช่องผนังแทนหน้าต่างเหมือนกับโบสถ์และวิหารสมัยสุโขทัย ภายในโบสถ์มีเสาสองแถว พระประธานในโบสถ์เป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ซึ่งถูกซ่อมแซมและลงรักปิดทองใหม่
เส้นทางเข้าสู่วัดนครชุม
..........................ตั้งอยู่ริมถนนสายพิจิตร - วังจิก ซึ่งเป็นถนนที่ตั้งทับบนกำแพงเมืองเก่า ห่างจากตัวอำเภอเมือง ประมาณ ๙ กิโลเมตร