MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

จังหวัดพิจิตร

เมืองเก่าพิจิตร (เมืองพิจิตรเก่า)

สถานที่ตั้ง บ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตร จังหวัดพิจิตร ห่างจากตัวเมืองพิจิตร ประมาณ ๙ กิโลเมตร
ประวัติความเป็นมา
................. เมืองพิจิตรเก่าหลังจากพระยาโคตบองเทวราชได้มาตั้งเมืองพิจิตรแห่งแรกที่เรียกว่า นครไชบวร ที่อำเภอโพทะเล ต่อมาในราวปี พ.ศ.๑๖๐๑ ในสมัยพระเจ้ากาญจนกุมารเชื้อสายของพระยาโคตบองเทวราช พระองค์ได้เสด็จประพาสหัวเมืองทางเหนือทางชลมารคไปตามลำน้ำพิจิตรเก่า จนถึงตำบลสระหลวง ทรง
เห็นว่าเป็นทำเลที่เหมาะสมแก่การสร้างเมืองใหม่อย่างยิ่ง จึงทรงย้ายเมืองจากนครไชบวรมาสร้างใหม่ที่ ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมืองพิจิตรในปัจจุบัน พระราชทานนามเมืองใหม่นี้ว่า พิจิตร มาจนตราบเท่าทุกวันนี้ บรรดาไพร่ฟ้าข้าราชบริพารได้ พากันถวายพระนามพระเจ้ากาญจนกุมารเป็นพระยาโคตบองเทวราช เช่น
เดียวกับผู้ครองนคร ไชบวรองค์แรกเป็นต้นราชวงศ์สำหรับเมืองพิจิตรนี้ต่อไป
ลักษณะทั่วไป
..................... ลักษณะของตัวเมืองเก่าพิจิตรเป็นที่ราบ มีต้นไม้ขนาดใหญ่ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ลักษณะเป็นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่ริมแม่น้ำน่านเก่า โดยมีแม่น้ำน่านเก่าเป็นคูเมืองทางทิศตะวันตกไปในตัว ตัวเมืองกว้าง ๔๒๕ เมตร ยาว ๑,๔๒๖ เมตร มีกำแพงเมืองและคูเมืองล้อมรอบกำแพงเมืองมีเหลืออยู่บ้างเป็นบางส่วน
ส่วนใหญ่จะถูกทำลายเพื่อสร้างถนน ทำสวนและปลูกบ้านเรือน มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๖๕ ไร่ ในกำแพงเมือง มีโบราณสถานที่สำคัญ คือ วัดมหาธาตุ วัดนครชุม และศาลหลักเมืองพิจิตร และได้ปรับปรุงสถานที่ ประวัติศาสตร์และโบราณคดีโดย ได้รับความร่วมมือจากกรมศิลปากรมาช่วยดำเนินการ เนื่องจากโบราณ
สถานและโบราณวัตถุ ต่าง ๆ ได้ชำรุดเสียหายมากต้องปรับปรุงให้มีสภาพดีขึ้น เช่น พระปรางค์วัดมหาธาตุ บริเวณ ศาลหลักเมือง เป็นต้น
หลักฐานที่พบ
ภายในอุทยานหลักฐานทางโบราณคดีที่พบ คือ
๑. ศาลหลักเมือง อาคารแบ่งออกเป็น ๒ ชั้น คือ ด้านบนจะเป็นที่ตั้งของศาลหลักเมือง ส่วนด้านล่าง จะเป็นที่ประดิษฐานรูปปั้นพระยาโคตรบองซึ่งชาวบ้านเรียกว่า พ่อปู่ สภาพโดยรอบศาลจะมีต้นไม้มากมาย ดูร่มรื่น
๒. วัดมหาธาตุ โบราณสถานที่เห็นได้ชัดเจนของวัดมหาธาตุ คือ เจดีย์ทรงลังกา ซึ่งเรียกว่า พระธาตุเจดีย์ ส่วนพระอุโบสถซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกของพระมหาธาตุเจดีย์นั้นมี รากไทรเกาะอยู่ที่หน้าบัน หลังคาถูกต้นไม้ล้มทับหักลงมา องค์พระก็พลอยโค่นลงมาด้วย บัดนี้เหลือแต่ฐานอิฐสูง เมื่อครั้งกรมศิลปากร
ขุดแต่งโบราณสถานได้พบซากกำแพงและวิหารเก้าห้อง
๓. ถ้ำชาละวัน มีที่มาจากวรรณคดีเรื่อง ไกรทอง บทพระราชนิพนธ์ของรัชกาลที่ ๒ มีเรื่องเล่าว่า เมื่อ ประมาณ ๖๕ ปีมาแล้ว พระภิกษุวัดนครชุมรูปหนึ่งจุดเทียนไขเดินเข้าไปในถ้ำจนเทียนหมดเล่มก็ยังไม่ถึงก้น ถ้ำ แต่ปัจจุบันลักษณะถ้ำกว้างเพียง ๑ เมตร ยาว ๑.๕๐ เมตร และลึก ๔ เมตร อันเนื่องมาจากความทรุดโทรมตามกาลเวลา ทางจังหวัดได้สร้างรูปปั้นไกรทองและชาละวันที่บริเวณปากถ้ำ
๔. เกาะศรีมาลา มีลักษณะเป็นมูลดินคล้ายเกาะเล็ก ๆ อยู่กลางคูเมืองนอกกำแพงเก่า มีคูล้อมรอบ เกาะแต่ตื้นเขินสันนิษฐานว่า เดิมน่าจะเป็นป้อม หรือหอคอยรักษาการณ์อย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะตั้งอยู่นอก เมืองและอยู่กลางคูเมือง
เส้นทางเข้าสู่เมืองเก่าพิจิตร
................จากตัวเมืองตามเส้นทางสายพิจิตร - วังจิก (ทางหลวงหมายเลข ๑๐๖๘) ประมาณ ๙ กิโลเมตร เมืองเก่าพิจิตรจะอยู่ทางด้านขวามือ