MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

จังหวัดภูเก็ต

ชื่อ ท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร

................ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร เป็นวีรสตรีของชาวภูเก็ต ซึ่งปรากฏวีรกรรมและความกล้าในการต่อสู้กับพม่าในครั้งศึกถลาง พ.ศ. ๒๓๒๘ สามารถรักษาเมืองถลางไว้ได้ ท้าวเทพกระษัตรีเดิมชื่อ จัน ท้าวศรีสุนทร เดิมชื่อมุกเป็นน้องสาวของท้าวเทพกระษัตรี ทั้งสองเป็นธิดาของจอมร้างเจ้าเมืองถลาง มารดา
ชื่อหม่าเสี้ย เป็นเชื้อสายเจ้าเมืองไทรบุรี คุณจันเกิดที่บ้านตะเคียน เมืองถลาง ประมาณปี พ.ศ. ๒๒๗๘ ปลายกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาลพระเจ้าบรมโกศ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๕ คน คือคุณจัน คุณมุก คุณหมา (หญิง) คุณอาด (ชาย) และคุณเรือง (ชาย) ชีวิตครอบครัว คุณจันแต่งงานกับหม่อนศรีภักดี บุตรจอมนายกองเมืองตะกั่วทุ่ง มีบุตรธิดาด้วยกัน ๒ คน คือคุณปรางและคุณเทียน คุณจันตกพุ่มหม้ายเมื่อหม่อมศรีภักดีถึงแก่กรรม ต่อมาเมื่อพระกระบุรี (ขัน) ได้รับยศเป็นพระยาพิมลเจ้าเมืองถลาง จึงได้มาแต่งงานกับคุณจัน มีบุตรธิดาด้วยกัน ๕ คน คือแม่ทอง พ่อจุ้ย พ่อเนียม แม่กิ่ม และแม่เมือง ครั้งเมื่อพระยาพิมลได้ไปเป็นเจ้าเมืองพัทลุง คุณหญิงจันก็ยังคงอยู่ที่เมืองถลาง ภายหลังกลับมาเป็นเจ้าเมืองถลางถึงกลับมาอยู่กับคุณหญิงจันอีกพระยาพิมลถึงแก่อนิจกรรม ในปี พ.ศ. ๒๓๒๘ ซึ่งเป็นระยะเดียวกับที่พม่ายกกองทัพมาตีเมืองถลาง คุณหญิงจันและคุณหญิงมุกน้องสาว เป็นผู้นำชาวบ้านต่อสู้กองทัพพม่า สามารถรักษาเมืองถลางไว้ได้ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ได้ตอบ
แทนความชอบ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ตั้งคุณหญิงจันเป็นท้าวเทพกระษัตรี คุณหญิงมุกเป็น ท้าวศรีสุนทร คุณเทียนบุตรชายท้าวเทพกระษัตร ีได้รับตำแหน่งเป็นเจ้าเมืองถลาง ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร ไม่ทราบว่าถึงแก่อสัญกรรมเมื่อใด เพราะไม่มีหลักฐานใด ๆ กล่าว
ไว้ แต่จากคำบอกเล่าต่อกันมาว่า ทั้งสองวีรสตรีพักอาศัยอยู่กับพระยาเพชรคีรีพิชัยสงคราม เจ้าพระยาถลาง (ต้นตระกูล ประทีป ณ ถลาง) อยู่จนเข้าสู่วัยชราภาพ และถึงแก่อสัญกรรมโดยสงบ
ผลงาน/เกียรติคุณที่ได้รับ
๑. ผลงานของท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร ที่สำคัญคือสามารถป้องกันรักษาเมืองถลางไว้จากกองทัพพม่าได้ ซึ่งศึกสงครามครั้งนี้เป็นที่รู้จักกันดี ในนามสงครามเก้าทัพ ตีฝ่าด่านเข้ามาทางด้านด่านเจดีย์สามองค์เมืองกาญจนบุรี ฝ่ายเมืองถลางนั้นได้ข่าวว่าพม่าจะยกทัพมาตั้งแต่เดือนอ้าย จึงเตรียมตัวรับศึกป้องกันรักษาเมือง โดยการจัดคนเข้าประจำรักษาค่าย แต่ถึงคราวเคราะห์ของชาวถลาง ในขณะที่มีข่าวพม่ายกมาพระยาถลาง เจ้าเมืองกำลังป่วยหนักและถึงแก่กรรมลงในที่สุด ยังไม่ทันได้ตั้งผู้ใดให้เป็นเจ้าเมืองแทน เป็นแต่มีกรรมการเมืองรักษาการไว้เป็นการชั่วคราว คุณหญิงจันจึงรวบรวมผู้คนรวมทั้งอาวุธปืนใหญ่น้อย เข้าประจำค่ายเตรียมรับทัพพม่าอย่างสามารถ คุณหญิงจันได้ประชุมกรรมการเมืองนายทัพนายกอง ซึ่งมีความเห็นพร้อมต้องกันว่า ทัพเรือของพม่าจะต้องยกเข้ามาจอดยกพลขึ้นบกที่ท่าตะเภา อันเป็นท่าเรือใหญ่และใกล้เมืองถลางที่สุด จึงได้แบ่งกองกำลังออกไปตั้งขัดตาทัพ อยู่ที่หลังวัดพระนางสร้างยึดเอาวัดเป็นที่ตั้งฐานทัพ ค่ายนี้มอบนายอาจน้องชายคุณหญิงจันเป็นแม่กอง คุมพลไทยแขกกับปืนใหญ่แม่นางกลางเมืองหนึ่ง
กระบอกไปประจำค่าย มีนายทองเพ็งและกรมการเป็นผู้ช่วย และได้ตั้งค่ายใหญ่ที่นบนางดักหนึ่งค่าย เป็น หน้าที่ของนายทองพูนเป็นแม่กอง มีปืนใหญ่ชื่อพระพิรุณสังหาร ประจำค่ายหนึ่งกระบอก (ที่ตั้งค่ายแห่งนี้ปรากฏนามว่านบนางดัก) เมื่อขุนนางนายทัพนายกองกรมการ ออกมาตั้งขัดตาทัพพม่าพร้อมกันแล้วก็ตั้งกอง
สอดแนมลาดตระเวนตามยุทธวิธีสงคราม ส่วนคุณหญิงจันนั้นเป็นผู้บัญชาการรบทั่วไป มีคุณมุกเป็นผู้ช่วย ตรวจตราทั้งสองค่าย ศึกหนักทางไหนจะได้ช่วยทางนั้น
เมื่อพม่ายกมาถึงช่องแคบเข้าจอดเรือที่ท่าตะเภา ยกพลขึ้นตั้งค่ายใหญ่ที่ริมทะเล (ปากช่องค่าย) แล้ว ขยับขึ้นมาตั้งค่ายรายปีกกา (โคกพม่า) ๑ ค่าย ตั้งที่บ้านนากลาง ๑ ค่าย ชักปีกกาเข้าหากันประหนึ่งล้อมที่ตั้ง เมืองไว้ แล้วแต่งตั้งนายทัพนายกองนำกำลังพลมายั่วชาวเมือง ทำทีว่าจะเข้าตีค่ายของนายทองพูน นายทอง
เพ็ง ฝ่ายกองทัพไทยมีพลน้อย ไม่สามารถจะออกโจมตีข้าศึกโดยซึ่งหน้า คุณหญิงจันและ คุณมุก จึงปรึกษาหารือกับกรมการว่า ควรจะคิดอุบาย ให้พม่าถอยทัพกลับไปโดยเร็วให้จงได้ จึงสั่งให้คัดเลือกผู้หญิงวัยกลางคนประมาณ ๕๐๐ เศษ มาแต่งตัวอย่างผู้ชาย เอาทางมะพร้าวมาตกแต่งต่างถืออาวุธ เพื่อลวงข้าศึกจัด
ขบวนทำที่จะยกเข้าตีทัพพม่า
.............................เมื่อพม่าเห็นทัพไทยยกออกมาจะเข้าตีค่ายของตน ก็จัดขบวนออกประชุมพลอยู่ หน้าค่ายตรงต้นทองหลางน้ำ มีกิริยาอาการจะตีโต้ตอบ คุณหญิงจันก็สั่งให้นายทองพูนผู้น้อง จุดปืนใหญ่พิรุณสังหารยิงตรงไปยังที่ชุมนุมพม่า กระสุนปืนใหญ่ตัดเอากิ่งไม้ทองหลางน้ำขาดลงกลางชุมนุมของพม่า ทางฝ่ายทัพไทยก็ตีฆ้องกลองโห่ร้อง สำทับข่มขวัญอยู่อย่างครื้นเครงประหนึ่งจะยกออกโจมตี ฝ่ายพม่าเห็นเป็นอัศจรรย์ก็ขวัญเสีย จึงรีบถอยทัพกลับเข้าค่าย ทำอย่างนี้ทุกวันตลอด ๓-๔ วัน เป็นการถ่ายเทคนเข้าออกแต่ให้พม่าเห็นแต่เวลาเข้า เป็นการลวงให้พม่าเห็นว่าทัพไทยมีกำลังเพิ่มเติมเข้ามาเสมอ พม่าไม่กล้าเข้าโจมตีเป็นการ
หน่วงเหนี่ยวไว้ให้ขาดเสบียงอาหาร โดยจัดกองกำลังออกรังควาญพวกพม่าที่ออกลาดตระเวนและหาเสบียง อาหาร บาดเจ็บล้มตายเป็นประจำทุกวัน เมื่อเห็นว่าระส่ำระสายแล้วจะยกเข้าโจมตี พม่าจึงถอนกำลังลงไป ตั้งค่ายที่นาโคกพม่า ส่วนค่ายที่นาโคกพม่าก็ถอยกลับลงไปตั้งอยู่ในเกาะ
เมื่อพม่าถอยลงไปตั้งเช่นนั้น จึงสั่งให้ค่ายบ้านค่ายถอนคนลงมาอยู่ค่ายนางดัก ส่วนค่ายนางดักก็ เลื่อนลงไปตามลำคลอง ตั้งที่นาใหญ่ ได้ยกออกตั้งขบวนยิงข้าศึกด้วยปืนใหญ่น้อยทุก ๆ วัน พวกพม่าคงขาด เสบียงอาหาร เกิดความปั่นป่วนขึ้นในกองทัพ ประกอบกับคงเกิดความเหนื่อยหน่ายที่ได้ทำการรบมาเป็น
เวลาประมาณ ๔ เดือน นับแต่ยกกองทัพออกมาจากเมืองมะริด พม่าล้อมเมืองถลางอยู่ได้ประมาณ ๑ เดือน บาดเจ็บล้มตายลงประมาณ ๓๐๐-๔๐๐ คน หมดความสามารถที่จะตีเอาเมืองถลางให้แตกได้ จึงเลิกทัพ กลับไป เมื่อวันจันทร์ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง สัปตศก ๙ จ.ศ. ๑๑๔๗ ตรงกับวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ.
๒๓๒๘
๒. เกียรติคุณที่รับ
๒.๑ ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร เพราะเมื่อพม่าเลิกทัพกลับไป จากเมืองถลาง ทัพหลวงของสมเด็จกรมพระราชวังบวรสถานมงคล สามารถตีทัพพม่าแตกทัพไปสิ้น พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้คุณหญิงจัน ซึ่งออกรบต่อสู้กับทัพพม่า
นั้นเป็น ท้าวเทพกระษัตรี คุณมุกเป็นท้าวศรีสุนทร พระราชทานเครื่องยศแก่ทั้งสองตามสมควรแก่ความชอบ
๒.๒ ประชาชนชาวภูเก็ต ได้ร่วมใจกันสร้างอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร เมื่อวัน ที่ ๒๘ เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๙ โดยอนุสาวรีย์ ตั้งอยู่บริเวณเกาะกลางถนนเทพกระษัตรี อำเภอถลาง เป็น อนุสาวรีย์ยืนลอยตัว มีฐานยกสูงประมาณ ๑๐ เมตร ใช้หินอ่อนเป็นวัสดุในการก่อสร้าง ซึ่งได้จารึกในดวง
ศิลาฤกษ์ไว้ว่า "ท้าวเทพกระษัตรี (จัน) ท้าวศรีสุนทร (มุก) ได้กระทำการป้องกันเมืองไว้เป็นสามารถมิให้พม่าข้าศึกซึ่ง
ยกมาประชิดเมืองถลาง เมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๘ ตีหักเอาเมืองได้พม่าแตกทัพกลับไป เมื่อวันจันทร์ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๔ ปีมะเส็ง จ.ศ. ๑๑๔๗ เป็นวีรกรรม อันควรแก่ชาวเมืองถลางตลอดจนชาวไทยทั่วไป ยกย่องสรรเสริญ..."