MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

จังหวัดพังงา

ชื่อ ตำนานแหล่งโบราณคดีเขางุ้ม


สถานที่ตั้ง ภูเขางุ้ม ริมถนนเพชรเกษมตรงข้ามกับศาลากลางจังหวัดพังงาหลังใหม่ และอยู่หลังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา
ประวัติความเป็นมา
..................เขางุ้มเป็นเขาขนาดย่อมตั้งอยู่ตรงข้ามกับภูเขาช้าง ตำนานเล่าว่าเป็นเขาที่คู่กับเขาช้าง คือตางุ้ม เป็น เจ้าของช้าง คือเมื่อช้างตายตางุ้มก็กลั้นใจตายตามไปด้วย ภูเขาลูกนี้มีถ้ำใหญ่ ซึ่งกรมศิลปากรได้เข้าทำการ สำรวจภายในถ้ำแห่งนี้แล้วระบุว่าเป็นที่อยู่อาศัยและที่ฝังศพของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุนับพัน
ปีมาแล้ว
ลักษณะทั่วไป
..................เป็นถ้ำซึ่งอยู่ต่ำกว่าระดับพื้นดินลงไปเล็กน้อย ภายในถ้ำมีความอับชื้นพอประมาณ พื้นถ้ำไม่เรียบ ภายในถ้ำมีความมืดพอประมาณ ต้องใช้ไฟฉายหรือแสงไฟอย่างอื่นช่วยจึงจะสามารถมองเห็นสิ่งต่างๆได้ ชัดเจน บางแห่งมีน้ำขังอยู่ บริเวณหน้าถ้ำเป็นแนวเนินดินสูงบังปากถ้ำไว้ ที่เนินดินนั้นจะเป็นเศษเปลือกหอย ทับถมกันอยู่เป็นกองแนวยาวหนาแน่นมาก ส่วนใหญ่เป็นเปลือกหอยทะเล ซึ่งนักโบราณคดีเชื่อว่าเป็นอาหาร
ของมนุษย์โบราณ
หลักฐานที่พบ
...................แหล่งนี้สำรวจพบมานานแล้วโดย พิสิฐ เจริญวงศ์ และไปรอัน พีค็อก เขางุ้มเป็นเขาหินปูนลูกเล็กๆ แต่เห็นเด่นชัดเพราะอยู่กลางเมืองพังงา ระหว่างเขาช้างและเขาพังงาพื้นที่บางด้านของภูเขา ยังเป็นป่าชายเลน ภายในเขางุ้มมีถ้ำสวยงามและเป็นแหล่งท่องเที่ยวแห่งหนึ่งในตัวเมืองพังงา จุดที่สำรวจพบโบราณวัตถุนั้น เป็นเพิงผาทางด้านตะวันตกของภูเขา เพิงผาแห่งนี้มีความยาวถึง ๖๐ เมตร ด้านหน้าเพิงผาเป็นที่ทับถมของ
กองเปลือกหอยขนาดใหญ่ตามแนวยาว และถูกขุดทำลายไปมาก บางจุดลึก ๒ -๓ เมตร โบราณวัตถุที่พบ กระจายอยู่ทั่วๆ ไปบนผิวดินบริเวณที่ถูกขุด มีเครื่องมือหินกะเทาะรูปไข่ (Oval Shape)กะเทาะทั้งสองหน้า (Bifaces Tool) ทำจาากหินควอร์ตไซต์ ( Quartzite) เครื่องมือสะเก็ดหินพบหลายชิ้น ทำจากหินปูน
(Limestone) หินทราย ( Quartzitic Sandstone ) และหินเชิร์ต (Chert) นอกจากนี้ก็พบค้อนหิน หินลับเศษ ภาชนะดินเผามีทั้งแบบสีดำขัดมัน (Burmished) เคลือบน้ำดินสีแดง (red-slipped) เรียบธรรมดาและมี ลายเชือกทาบ เครื่องมือกระดูกมีลักษณะที่ด้านหนึ่งมีรอบตัดแต่งหรือฝนให้มีความคมคล้ายใบมีดชิ้นส่วน
ศีรษะมนุษย์ (Skull) เขาสัตว์ กระดูกสัตว์บก กระดูกปลา (Fish Bone) ก้ามปู (Pincers) และเปลือกหอย
เส้นทางเข้าสู่สถานที่สำคัญ
.....................เดินทางไปตามถนนเพชรเกษมถึงบริเวณหน้าศาลากลางหลังใหม่ เลยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด พังงาไปประมาณ ๒ เมตรมีทางแยกเลี้ยวขวา ผ่านหน้าสถานีดับเพลิง ๒ ของเทศบาลเมืองพังงาไปประมาณ ๑๕๐ - ๒๐๐ เมตร มีทางเดินท้าวเข้าไปถึงแหล่ง