MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

 

จังหวัดกระบี่

ประวัติแหล่งโบราณคดีถํ้าเสือ

สถานที่ตั้ง บ้านถํ้าเสือ ตำบลกระบี่น้อย อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

ประวัติความเป็นมา

......................สมัยที่บริเวณนี้ยังเป็นป่ารก ชาวบ้านได้พบเห็นเสือโคร่ง เดินเข้าออกแถบถํ้านี้อยู่เสมอจึงเรียกกันว่า "ถํ้าเสือ" และเป็นชื่อหมู่บ้านนี้ด้วย เมื่อพระอาจารย์ จำเนียร สีลเสฏโฐ มาบุกเบิกใหม่ๆ ได้เล่าว่า สภาพเดิม เป็นป่ารกมาก มีถํ้าที่สงบเงียบเหมาะแก่การทำวิปัสนากรรมฐาน ได้พบคนแปลกหน้าคนหนึ่งในหุบเขา "คีรีวง" ท่านได้ถามว่าในถํ้านี้เป็นอย่างไรบ้าง ชายผู้นั้นตอบว่าขอให้ท่านขึ้นไปขี่บนหลังของเขาเถอะแล้วจะ พาเข้าไปดูในถํ้าและบอกว่ามีทรัพย์สมบัติมากมาย แต่ท่านก็มิได้ไปเพราะคิดว่าคนผู้นี้จะอาศัยท่านเข้าไป เอาวัตถุมีค่าในถํ้าเสียมากกว่า ต่อมาเมื่อท่านนำพระและเณรมาอยู่แล้วก็พบชายผู้นี้อีกครั้งหนึ่งในหุบเขา ชายผู้นั้นได้บอกเล่าเรื่องราวต่างๆอีกมากมาย โดยเล่าว่า เมื่อประมาณ ๑๒๐๐ ปีมาแล้ว หุบเขาถํ้าเสือเป็น เกาะใกล้ทะเล ครั้งหนึ่งมีชาวเมืองไทรบุร ีได้ทราบข่าวการสร้างพระธาตุเมืองนครศรีธรรมราช จึงพากันนำเอา ทรัพย์สินเงินทองจะมาบรรจุไว้ในพระธาตุ เรือถูกพายุมาติดที่บริเวณถํ้าเสือเป็นเวลาช้านาน ผู้คนเหล่านั้น ต่างล้มตายไปหลายคน ต่อมาได้ทราบว่าการสร้างพระบรมธาตุนั้นเสร็จสิ้นแล้ว พวกที่เหลือจึงเอาทรัพย์สิน สมบัติฝังไว้ในถํ้า ช่วยสกัดก้อนหินปากถํ้าเอาไว้ โดยอาศัยระบบนํ้าย้อยจนปากถํ้าปิดสนิท ต่อมาอีกหลายร้อยปีทะเลบริเวณนี้ ได้ตื้นเขินกลายเป็นป่าเสน ผู้คนได้อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งที่อยู่ อาศัย กลายเป็นที่พักของพวกพ่อค้าเดินทางไปมา หรือข้ามแหลมจากตะวันตกไปยังตะวันออก พระอาจารย์ จำเนียร สีลเสฏโฐ กล่าวว่าชายคนนี้เล่าเหมือนว่าเขารู้ประวัติศาสตร์ดีแต่จะเชื่อได้แค่ไหนขอให้พิจารณาดู หลังจากนั้นท่านก็บอกว่าไม่พบเห็นชายผู้นั้นอีกเลย จึงคิดว่าเขาคงเป็นเจ้าของทรัพย์สมบัติภายในถํ้าแห่งนี้ จึงให้ชื่อว่า "ถํ้าคนธรรพ์" บริเวณนี้เคยมีคนเคยพบพระพุทธรูปทองคำและวัตถุมีค่าอื่นๆอีกด้วย ที่ใกล้เคียง กันมีการคนพบถํ้าเล็กถํ้าน้อยอีกมากมาย เช่น ถํ้าปลาไหล ถํ้าลูกธนู ถํ้าช้างแก้วเป็นต้น

ลักษณะทั่วไป
.......แหล่งโบราณคดีถํ้าเสือ เป็นภูเขาหินปูนพืดติดต่อกันหลายลูก หน้าเพิงถํ้าหันไปทางทิศตะวันออก ซึ่ง ลาดลงไปสู่พื้นราบ เพิงถํ้าด้านหน้ายาวขนานไปกับพืดเขาสูงจากพื้นดินประมาณ ๕ เมตร เป็นแหล่ง โบราณคดีสองสมัยในที่เดียวกัน คือ สมัยก่อนประวัติศาสตร์และสมัยแรกเริ่มประวัติศาสตร์ ปัจจุบันนั้นเป็นที่ตั้งของวัดถํ้าเสือ

หลักฐานที่พบ
...........จากการสำรวจทางโบราณคดีของนักโบราณคดี มีการค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีที่สำคัญในแหล่ง โบราณคดีแห่งนี้ คือ เครื่องมือหิน พระพิมพ์ดินดิบ ภาชนะดินเผาทรงกลมมีการตกแต่งลวดลายเชือกทาบ และเศษภาชนะดินเผา รวมทั้งภาชนะดินเผาประเภทหม้อสามขา โบราณวัตถุที่พบพระอาจารย์จำเนียร สีลเสฏโฐ ประธานสงฆ์สำนักถํ้าเสือเป็นผู้เก็บรักษาไว้ที่วัดถํ้า เสือเป็นจำนวนมาก และในบางส่วนอยู่ในความครอบครองของชาวบ้าน

เส้นทางเข้าสู่สถานที่สำคัญ
...........การเดินทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีถํ้าเสือ สามารถเดินทางได้สะดวก ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ ๙ กิโลเมตร การเดินทางเริ่มต้นจากสี่แยกบ้านตลาดเก่า ตามถนนสาย กระบี่ - ตรัง ประมาณ ๒ กิโลเมตร ถึง ปากทางเลี้ยวซ้ายเข้าวัดถํ้าเสืออีกประมาณ ๒ กิโลเมตร ก็ถึงแหล่งโบราณคดีถํ้าเสือ