MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

จังหวัดอุตรดิตถ

พระนาม เจ้าพระฝาง

พระราชประวัติ
..............เจ้าพระฝางเดิมชื่อเรือน คาดว่าเป็นชาวเชียงใหม่ บ้านอยู่ที่เวียงป่าเป้า เมืองฝางครอบครัวค่อนข้างมีอันจะกิน ได้บวชเป็นเณรตั้งแต่เล็กที่เวียงป่าเป้า ได้ติดตามอาจารย์พระธุดงค์ไปหลายแห่ง ชอบศึกษาทางไสยศาสตร์เวทมนต์ คาถาอาคมและคงกระพัน กับพระอาจารย์หลายองค์ส่วนใหญ่เป็นพระธุดงค์และได้มา
บวชเป็นพระที่เมืองแพร่ นอกจากจะมีความเชี่ยวชาญทางวิทยาคมหาใครเสมอเหมือนมิได้แล้ว พระเรือนยังมีความเชี่ยวชาญทางด้านกรรมฐานและแตกฉานทาง พระไตรปิฏกอย่างมาก ได้ธุดงค์ลงไปเรื่อย ๆ เพื่อศึกษาและแสวงธรรมในสถานที่ต่าง ๆ ตามวาระโอกาสจนถึงอยุธยาก็เข้าจำพรรษาอยู่ที่วัดศรีอโยธยา ได้
ศึกษาเล่าเรียนเพิ่มเติมจนได้เป็นที่ พระพากุลเถระ ตำแหน่งพระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ ต่อมาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงแต่งตั้งให้เป็นตำแหน่งสังฆราชา ขึ้นไปเป็นเจ้าคณะสงฆ์ เมืองสวางคบุรี อยู่ ณ วัดพระฝางสวางคบุรี
ผลงาน
.................เมื่อกรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า ในปี พ.ศ. ๒๓๑๐ หัวเมืองทั้งหลายได้พากันตั้งตนขึ้นเป็นเจ้า มีอยู่ถึง ๖ ก๊ก พระสังฆราชาเรือนเป็นผู้ที่ชาวเมือง เชื่อถือว่ามีวิชาอาคมเชี่ยวชาญทุกด้านสาขา ได้ตั้งตัวเป็นเจ้าโดยที่ยังเป็นพระสงฆ์อยู่ โดยเปลี่ยนสีเครื่องนุ่งห่มจากสีเหลืองเป็นสีแดงแสด คนทั้งหลายเรียกเจ้าพระฝาง ครอบ
ครองอาณาเขตตั้งแต่เมืองเวียงจันทร์ หลวงพระบาง น่าน แพร่ พิชัย จนถึงพิษณุโลก พิจิตร นครสวรรค์ ชัยนาท และอุทัยธานี
ในปี พ.ศ. ๒๓๑๓ พระเจ้าตากสินได้กรีธาทัพเข้าโจมตีก๊กเจ้าพระฝาง ซึ่งเป็นก๊กสุดท้าย ที่มีกำลังแข็งแกร่งทัดเทียมกัน พระเจ้าตากได้พยายามเกลี้ยกล่อมให้อ่อนน้อมเข้าเป็นพวกเดียวกัน เจ้าพระฝางก็ไม่ยินยอมได้ส่งทัพออกรบนอกค่ายหลายคราวก็ประสบความปราชัยทุกครั้ง ครั้นจะสู้รบต่อไป คนที่จะล้มตายก็ คือไพร่พลทหาร พระสงฆ์และชาวบ้าน กับคนไทยต้องฆ่าฟันกันเอง จึงคิดว่าถ้าหากหนีหายไปทุกอย่างก็จะ
จบลงด้วยดีไม่ต้องฆ่าฟันกัน จึงใช้วิชาคาถาอาคมหลบลี้หนีออกจากค่ายไป เมืองฝาง หรือเมืองสว่างคบุรี ที่จังหวัดอุตรดิตถ์ คือที่เดียวกันกับวัดพระฝางหรือ วัดพระฝางสว่างคบุรี มุนีนาถในปัจจุบัน เมื่อสิ้นยุคสมัยเจ้าพระฝางแล้ว เมืองฝางก็เสื่อมคลายความสำคัญลงไปตามลำดับ จนอยู่
ในสภาพเสื่อมโทรมข้าวของสูญหายไปจำนวนมาก ของชิ้นสำคัญที่ยังหลงเหลืออยู่ที่วัด และที่นำไปเก็บไว้ในที่อื่น ๆ ได้แก่ ระฆังโบราณคู่บ้านคู่เมือง ยังเก็บรักษาไว้ที่ วัดพระฝาง บานประตูไม้แกะสลักลวดลายสวยงามมาก เก็บรักษาไว้ที่วัดธรรมาธิปไตย อำเภอเมือง จังหวัดอุตรดิตถ์ พระฝางพระพุทธรูปที่งดงามมากได้ชลอมา
ไว้ที่วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพมหานคร สมัยรัชกาลที่ ๕