MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

จังหวัดแพร่

วัดหลวง

สถานที่ตั้ง
......................วัดหลวงตั้งอยู่ที่ถนนคำลือ ตำบลในเวียง อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ ห่างจากศาลหลักเมือง ประมาณ๒๐๐ เมตร
ประวัติความเป็นมา
.....................นับเนื่องจากการที่พ่อขุนหลวงพลได้อพยพคนไทยส่วนหนึ่งลงมาจากเมืองเชียงแสนไชยบุรี มาสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นบนที่ราบฝั่งน้ำยม เมื่อปีพุทธศักราช ๑๓๗๑ ในปี พ.ศ. ๑๓๗๒ ก็ได้รวมพลทุกแขวงสร้างวัด ขึ้นบริเวณข่วงตะวันตกคุ้ม ในวันขึ้น ๙ ค่ำ เดือน ๗ ปีเม้า ลุถึงวันขึ้น ๔ ค่ำ เดือน ๙ ก็สร้างเสร็จ ขนานนามว่า
วัดหลวง และให้สร้างวิหารหลวงพลนครเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าแสนหลวง เป็นพุทธประธานเมือง และ ได้ส่งพ่อหลวงคำฟู เป็นทูตไปอาราธนาพระสงฆ์จากเมืองหลวงพระบาง มาสอนธรรมและจัดให้มีงานสมโภช เป็นเวลา ๕ วัน ๕ คืน พ.ศ. ๑๖๑๓ สมัยพญาผาวงศ์อินทร์ครองเมืองพล พวกขอมยกทัพมารุกราน ขอมเข้าทำลายเมืองพล เผาลอกเอา ทองคำที่หุ้มพระเจ้าแสนหลวงไป วัดหลวงจึงเป็นวัดร้าง พ.ศ. ๑๗๑๙ พม่ายกกองทัพมารุกราน ขอมหมดอำนาจ พญาพีระไชยวงศ์ ต่อสู้อยู่ สามวันจึงยอมอ่อนน้อม พม่าให้มังก๋าระปกครองเมืองแพล มังก๋าระให้บูรณะวัดวาอารามวัดหลวง สร้างเสาหงษ์ สร้างวิหารหลังใหม่ สร้างพระธาตุหลวง ไชยช้างค้ำ และขนานนามวัดว่า วัดหลวงไชยช้างค้ำ
ความสำคัญต่อชุมชน
......................เป็นศาสนสถานศูนย์รวมจิตใจของคนเมืองแพร่ ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มี พระพุทธรูปเก่าแก่ที่มีอายุ มากกว่า ๕๐๐ ปี ได้แก่ พระเจ้าแสนหลวงและพระเจ้าแสนทอง และเป็นแหล่งศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น มีพิธิภัณฑ์พื้นบ้านจัดเก็บโบราณวัตถุเป็นหมวดหมู่
ลักษณะสถาปัตยกรรม
..................... สิ่งสำคัญที่สุดภายในวัด คือ พระธาตุหลวงไชยช้างค้ำ พระเจดีย์เป็นศิลปะเชียงแสน ศาสนสถานอื่น ๆ เป็นศิลปะแบบล้านนา เช่น คุ้มพระลอซึ่งเป็นเรือนล้านนาขนาดย่อมที่สวยงามมากแห่งหนึ่งของไทย
เส้นทางเข้าสู่วัดหลวง
เส้นทางเข้าสู่วัดหลวงมี เส้นทาง ดังนี้
เส้นทางที่ ๑ เริ่มจากถนนหน้าศาลากลางจังหวัดแพร่ แยกเข้าทางตรอกศรีชุม ประมาณ ๒๐๐ เมตร ถึงหน้าวัดหลวง
เส้นทางที่ ๒ ทางแยกถนนคำลือหลังคุ้มเจ้าหลวง (จวนผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่) เข้าไปประมาณ ๑๐๐ เมตร ถึงหน้าวัดหลวงเช่นกัน