MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

จังหวัดน่าน

ชุมชนโบราณเมืองปัว

สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ในเขตบ้านปัว (ปัจจุบันเป็นบริเวณของบ้านแก้ม หมู่ ๕) ตำบลปัว อำเภอปัว จังหวัดน่าน
ประวัติความเป็นมา
................ ชุมชนโบราณเมืองปัวนี้ เป็นชุมชนโบราณต้นกำเนิดของอารยธรรมในเขตจังหวัดน่าน จากหลักฐานต่าง ๆ พบว่าบริเวณวัดพระธาตุเบ็งสกัด ปัจจุบันเป็นศูนย์กลางของเมืองปัวในอดีต และคำอธิบายเกี่ยวกับต้น กำเนิดของบรรพบุรุษของชุมชนแห่งนี้ ก็มีออกมาในลักษณะ ของตำนานต้นกำเนิดบรรพบุรุษของชุมชนแห่งนี้ กล่าวได้ว่ามีนายพรานผู้หนึ่งได้ขึ้นไปล่าสัตว์บนดอยภูคา ได้ไข่ขนาดลูกมะพร้าวมาสองฟอง จึงนำมาถวาย
แก่พระยาภูคาผู้ครองเมืองย่าง เมื่อไข่ฟักออกมาเป็นตัวจึงกลายเป็นทารกชาย ๒ คน คือขุนนุ่น และขุนฟอง ซึ่งพระยาภูคาก็ได้เลี้ยงจนเติบใหญ่ และสร้างบ้านเมืองให้อยู่ปกครองผู้คนในบริเวณนั้นคือ เมืองเวียงจันทร์ (หลวงพระบาง) ให้แก่ขุนนุ่นผู้พี่และเมืองวรนครหรือเมืองปัวให้แก่ขุนฟองผู้น้อง
การกำเนิดของเมืองปัวในอดีตดังตำนานปรัมปราที่กล่าวมานี้ก็มีส่วน ช่วงเวลาของการก่อตั้งบ้านเมืองขึ้น ที่เมืองปัวนั้นก็สอดคล้องกับเอกสาร ที่เป็นพงศาวดารเมืองน่านและเอกสารอื่นๆ ของล้านนาที่มีการก่อตั้ง เมืองในที่อื่น ๆ รอบด้าน กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนชุมชนโบราณเมืองปัวเป็นโบราณสถานในราชกิจจา
นุเบกษา เล่มที่ ๖๑ ตอนที่ ๖๕ ลงวันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๘๗ เช่น เมืองสุโขทัยทางด้านทิศใต้ เมืองเชียงราย ในแคว้นโยนก และเมืองพะเยาทางทิศเหนือ ซึ่งเมืองต่างๆนี้ ก็มีส่วนเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ของเมือง ปัวในอดีต ทั้งในแง่การปกครองและการติดต่อสัมพันธ์กันทางเชื้อสายตระกูลและเศรษฐกิจสังคม ดังมีหลักฐาน ด้านเอกสารแสดงให้เห็นถึงการเข้าครอบครองบ้านเมืองที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่นี้ทั้งหมดโดยพระยางำเมืองแห่งเมืองพะเยา ในช่วงก่อนที่จะมีการอพยพเคลื่อนที่ ย้ายบ้านเมืองจากเมืองปัวลงมาทางใต้ สู่ที่ตั้งของชุมชน โบราณบริเวณภูเพียงแช่แห้งและเมืองน่านในปัจจุบัน
ลักษณะทั่วไป
............... ชุมชนโบราณบ้านปัวมีลักษณะยาวรี กว้างประมาณ ๕๐๐ เมตร ยาวประมาณ ๘๐๐ เมตร จำนวนชั้น ของคูเมืองเป็นแบบชั้นเดียว ในเอกสารบางฉบับได้กล่าวถึงร่องรอยคูน้ำคันดินของกำแพง เมืองบริเวณที่มีวัดพระธาตุเบ็งสกัดเป็นศูนย์กลาง แต่จากการสำรวจพบร่องรอย ของแนวคูน้ำคันดินอยู่ถัดออกมาจากวัด พระธาตุเบ็งสกัดไปทางด้านทิศใต้ประมาณ ๕๐๐ เมตร (บริเวณหลังที่ว่าการอำเภอปัวในปัจจุบัน) ไม่พบร่อง
รอยของกำแพงเมืองที่สร้างด้วยอิฐแต่ประการใดส่วนบริเวณวัดพระธาตุเบ็งสกัดเองก็ไม่พบร่องรอย หรือแนวของคูน้ำคันดินของกำแพงเมือง ซึ่งอาจเป็นเพราะขีดจำกัดในการสำรวจ หรืออาจมีการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพบางอย่าง เช่นคูน้ำคันดินอาจมีการตื้นเขินหรือถูกไถปรับพื้นที่
ส่วนคูน้ำคันดินที่พบ น่าจะเป็นแนวคูเมืองทางด้านทิศใต้ หรือตะวันตกเฉียงใต้ของชุมชนโบราณเมืองปัว ขนาดคูเมืองมีความกว้างประมาณ ๓-๔ เมตร ลึกประมาณ ๒-๓ เมตร ส่วนคันดินคงปรากฏเพียงแนวให้ เห็นเพียงเล็กน้อยและมีความสูงไม่มากนัก
หลักฐานทางโบราณคดีที่พบ
................. ไม่พบหลักฐานอื่นใดนอกจากร่องรอยแนวคูน้ำคันดินทางด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ของชุมชนโบราณเจดีย์ ที่เชื่อกันว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในวัดพระธาตุเบ็งสกัด และวิหารทรงพื้นเมืองที่มีซุ้มประตูเป็นแบบศิลปะลาวล้านช้าง
เส้นทางเข้าสู่ชุมชนโบราณเมืองปัว
................ จากเมืองน่านขึ้นไปทางเหนือประมาณ ๖๐ กิโลเมตร ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข ๑๐๘๐ แล้ว เลี้ยวขวาเข้าไปอีกประมาณ ๓๐๐-๕๐๐ เมตร