MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

จังหวัดน่าน

ตำนานพระธาตุจอมแจ้ง

เนื้อเรื่อง
............... เมื่อครั้งพุทธกาล พระสาวกของพระพุทธเจ้าพระองค์หนึ่งออกจาริกเผยแพร่พระธรรมไปในสถานที่ต่างๆ มาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำน่านทิศตะวันตก รุ่งเช้าพระสาวกได้ออกรับบิณฑบาตจากชาวบ้าน ครั้นเมื่อชาวบ้านตักบาตรเสร็จแล้ว พระสาวกรูปนั้น ก็ได้เหลือบสายตาไปเห็นชาวบ้านกำลังแทะเล็ม เมล็ดข้าวที่ติดมือ จึงรำพึงกับตนเองว่า หมู่บ้านนี้หนอ เขียมข้าว หมายถึงหมู่บ้านนี้อัตคัดขาดแคลนข้าว
มาก ครั้นเมื่อจาริกข้ามฝั่งแม่น้ำน่านมาทางทิศตะวันออก ถึง ที่ดอนริมฝั่งแม่น้ำ เข้าพักอริยาบถใต้ร่มไม้นั่ง พิจารณาสภาพต่าง ๆ อยู่นั้น ก็รำลึกขึ้นได้ว่าเมื่อเช้าได้คิดว่าหมู่บ้านแห่งนั้นเป็นบ้านเขียม คงจะไม่เหมาะสม น่าจะเปลี่ยนคำเรียกหมู่บ้านเสียใหม่ เพราะคำว่า เขียม มีความหมายว่า มีน้อย หายาก กลัวจะเป็นบาปกรรมติดตัวเลยเปลี่ยนเป็น บ้านแขม น่าจะเป็นสิริมงคลมากกว่า ต่อมาหมู่บ้านแห่งนี้มักประสบกับปัญหาน้ำท่วม จึงย้ายขึ้นไปอยู่บริเวณที่สูงกว่าน้ำท่วมไม่ถึง เรียกว่า บ้านพระเนตร หมู่ที่ ๔ ตำบลส้าน สถานที่ใต้ร่ม ไม้ซึ่งเป็นที่พักอาศัยนั้น ต่อมาได้สร้างพระเจดีย์ขึ้นเรียกว่า พระเจดีย์บิด มีความหมายว่า เปลี่ยน บิดเบือน
ไม่ใช่สิ่งเดิม เนื่องจากได้เปลี่ยนชื่อหมู่บ้านขึ้นใหม่นั่นเอง ต่อมาได้ย้ายไปสร้างที่วัดศรีบุญเรือง หมู่ ๒ ตำบล ไหล่น่าน
.....................ครั้นใกล้รุ่งเช้าก็ออกจาริกแสวงบุญไปยังทิศเหนือ พอมาถึงที่เนินภูเขาแห่งหนึ่งก็พอดีสว่างจึงรำพึงกับตนว่า สิ่งที่ได้กระทำลงไปในครั้งก่อน คงจะแจ้งประจักษ์แก่ผู้คนไปในภายภาคหน้า สถานที่แห่งนี้จึงเป็น สถานที่ที่หลุดพ้นบาปกรรมทั้งมวล ในกาลต่อมามีผู้มีจิตศรัทธาสร้างพระเจดีย์ขึ้นเรียกว่า พระเจดีย์จอมแจ้ง
ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๙๐ พระธาตุจอมแจ้งแห่งนี้ เป็นที่เคารพศรัทธาของชาวอำเภอเวียงสาและอำเภอใกล้เคียง จะพากันมา
ร่วมทำบุญนมัสการองค์พระธาตุเป็นประเพณีประจำปี ในวันเพ็ญเดือน ๘ เหนือ หรือ ชาวบ้านเรียกว่า วัน แปดเป็ง (วันเพ็ญเดือน ๖ วิสาขบูชา) ของทุก ๆ ปี
คติ / แนวคิด
................... เป็นการอธิบายถึงสาเหตุของการเกิดพระธาตุเจดีย์ในอำเภอเวียงสาทั้ง ๓ องค์ ที่มีส่วนเกี่ยวเนื่องซึ่งกันและกัน เป็นกุสโลบาย ในการสั่งสอนของคนโบราณอย่างชาญฉลาดในเรื่องของความรับผิดชอบในสิ่งที่ตน กระทำลงไป และหาวิธีแก้ไขหากว่าสิ่งที่ได้กระทำลงไปนั้นเกิดปัญหาขึ้นกับส่วนรวม อีกประการหนึ่งก็คือ สร้างความสัมพันธ์ฉันท์พี่น้องให้เกิดขึ้นกับหมู่บ้านทั้ง ๓ แห่ง โดยใช้พระธาตุเจดีย์เป็นสื่อกลางเพื่อลดปัญหา
ข้อขัดแย้งของชุมชน