MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

จังหวัดเชียงใหม่

ประวัติ เวียงท่ากาน

สถานที่ตั้ง เวียงท่ากานตั้งในเขตบ้านท่ากาน ตำบลบ้านกลาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่
ประวัติความเป็นมา
................... จากหลักฐานทางด้านตำนานปรากฏชื่อว่า เมืองตระการ สันนิษฐานว่า น่าจะได้สร้างขึ้นราวพุทธ ศตวรรษที่ ๑๓ สมัยพระเจ้าอาทิตยราชครองเมืองหริภุญไชย จากพงศาวดารโยนกได้กล่าวว่าเมืองนี้ในสมัยพญามังราย มีฐานะเป็นเมืองขึ้นของเชียงใหม่ มีชื่อว่า พันนาทะการ สมัยพระเจ้าติโลกราชได้ยกทัพไปตีเมืองเงี้ยว ก็ยังได้นำเชลยเงี้ยวไปไว้ที่พันนาทะการในปี พ.ศ. ๒๐๖๐ สมัยพระเมืองแก้วมีไทถิ่นต่าง ๆ เข้ามา สวามิภักดิ์ก็ให้ไปตั้งบ้านเรือนที่เวียงพันนาทะการอีก จนในปี พ.ศ. ๒๑๐๑ พระเจ้าหงสาวดีบุเรงนองของพม่า ตีได้เชียงใหม่และล้านนาไว้ในอำนาจให้พระเจ้าเมกุฏิครองเมืองเชียงใหม่ เวียงนี้ก็คงอยู่ในอำนาจของพม่า
ด้วย และภายหลังเจ้าองค์นกแข็งเมือง ปกครองตนเองและมีการต่อสู้กันจนเชียงใหม่ร้างไปในระยะปี ๒๓๑๘-๒๓๓๙ ประมาณ ๒๐ ปีเศษ พันนาทะการก็อาจจะร้างไปด้วย จนสมัยพระเจ้ากาวิละตีเชียงใหม่คืน มาได้ และได้ปราบปรามเมืองอื่น ๆ ก็ให้เมืองนี้เป็นที่อยู่ของชาวไทลื้อเมืองยอง ซึ่งให้อยู่ทั้งที่พันนาทะการ และเมืองลำพูน
ลักษณะทั่วไป
..................... เวียงท่ากาน มีลักษณะเป็นเมืองรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดกว้าง ๔๖๐ x ๗๔๐ เมตร ความกว้างของคูน้ำ ประมาณ ๘ เมตร สภาพคูน้ำคันดินล้อมรอบเป็นเขตเมืองนั้นยังมีสภาพตื้นเขิน เหลือสภาพแนวคูน้ำคันดินให้ เห็น ๓ ด้าน บริเวณรอบเมืองโบราณมีสภาพเป็นเนินสูงกว่าที่นาโดยรอบ
หลักฐานที่พบ
๑. เจดีย์ทรงมณฑป ฐานสี่เหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบหก ก่ออิฐก่อดินฉาบปูน กว้างประมาณ ๓.๕ เมตร ส่วนยอดเจดีย์พัง ความสูงของเจดีย์ที่เหลือประมาณ ๓ เมตร ตัวเจดีย์ถูกลักลอบขุดเป็นโพรง
๒. เป็นโบราณสถาน อยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของเจดีย์ห่างประมาณ ๒๐ เมตร ขนาดประมาณ ๖.๘ x ๘ เมตร พื้นที่เนินปกคลุมด้วยต้นไม้และวัชพืช พบแนวอิฐส่วนฐานวางตัวตามทิศตะวันออก - ตะวัน ตก ยาวประมาณ ๔ เมตร สูงประมาณ ๖๐ เซนติเมตร
๓. ศิลปวัตถุที่พบตามบริเวณเจดีย์ ส่วนใหญ่เป็นพระพิมพ์ดินเผา ที่เรียกชื่อว่า พระแผง(หรือกำแพงห้าร้อย) พระสาม พระสิบสอง พระบัวเข็ม พระคง พระเลี่ยงหลวง พระสามใบโพธิ์ พระร่มโพธิ์ ซึ่งเป็นวัตถุที่มีรูป ลักษณะศิลปกรรมของสมัยหริภุญไชย นอกจากนี้ก็พบมูยาสูบ(กล้องยาสูบ) ตุ้มตาชั่งสัมฤทธิ์ ตุ้มแห ชาม
เวียงกาหลง คอสิงห์ดินเผา ศิลปวัตถุที่สำคัญอีกชิ้นหนึ่งคือ โถลายครามจีนสมัยปลายราชวงศ์หยวน ขนาดสูง ประมาณ ๓๘ เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางตรงกลางโถประมาณ ๓๒ เซนติเมตร เส้นรอบวงประมาณ ๑๐๖ เซนติเมตร มีหูเล็ก ๆ เป็นรูปมังกร
เส้นทางเข้าสู่แหล่งโบราณคดีเวียงท่ากาน
..................... จากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ไปตามทางหลวงหมายเลข ๑๐๘ เชียงใหม่ - จอมทอง เลยอำเภอสันป่าตอง ไปประมาณ ๗ กิโลเมตร ถึงบ้านทุ่งเสี้ยว เลี้ยวซ้ายข้างป้อมตำรวจเข้าไปประมาณ ๒ กิโลเมตร ผ่านบ้านต้นกอกจึงถึงบ้านท่ากาน ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีเวียงท่ากาน