MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

จังหวัดอุดรธานี

วิหารวัดจอมศรี

สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่ถนนชนบทบำรุง บ้านน้ำฆ้อง หมู่ ๑๖ ตำบลพันดอน อำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดห้วยน้ำฆ้อง
ทิศใต้ จดที่สาธารณประโยชน์
ทิศตะวันออก จดที่สาธารณประโยชน์
ทิศตะวันตก จดที่สาธารณประโยชน์
ประวัติความเป็นมา
......................เดิมเป็นวัดร้างสร้างมาตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๕๐ และได้มาบูรณะสร้างขึ้นใหม่และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ.๒๔๘๖ มีพระครูพิทักษ์คุณากรเป็นเจ้าอาวาสรูปแรก พ.ศ.๒๔๖๑ - ๒๔๙๔
...................... ประวัติความเป็นมาของชุมชนบ้านน้ำฆ้องพันดอน มีประวัติจากนิทานผาแดง - นางไอ่ ตอนพังคีลูก นาคแปลงกายเป็นกระรอกเผือก บริวารแปลงกายเป็นนกกา ขึ้นมาชมการแข่งขันบั้งไฟที่เมืองเอกฮีตา พังคี เดินทางผ่านป่าเขาและดงดอนที่มีอยู่เป็นหย่อมๆมากมายรอบๆ เมืองหรือบริเวณรอบชายฝั่งหนองหานน้อย
กุมภวาปี จึงเรียกที่ตรงนั้นว่า พันดอน อันเป็นทีมาของชื่อบ้านห้วยน้ำฆ้องก็เช่นกันเกิดจากผาแดงพานาง ไอ่ขึ้นม้าบักสามควบหนีพระยาสุทโธนาคราชที่ขึ้นมาถล่มเมืองเอกฮีตา และฆ่าทุกคนที่กินเนื้อพังคี สุทโธ นาคราชไล่กวดผาแดงไปเพื่อฆ่านางไอ่ ผาแดงพานางไอ่หนีไปถึงลำน้ำแห่งหนึ่ง นางไอ่โยนฆ้องที่นำมาด้วย
ทิ้งลงน้ำให้ม้าวิ่งได้เร็วยิ่งขึ้น ลำน้ำนั้นเรียกว่า ห้วยน้ำฆ้องบริเวณพันดอนเคยเป็นป่าเบญจพรรณ มีสัตว์ป่า อยู่มากมาย แต่ชาวบ้านไม่กล้าไปล่าสัตว์เพราะกลัวภูตผี เจ้าป่า เจ้าเขา ต่อมามีพรานป่าคนหนึ่งเข้าไปล่า สัตว์ได้สัตว์มากมาย จึงพากันไปถางป่าเข้าไปตั้งถิ่นฐาน นานเข้ากลายเป็นชุมชน ต่อมามีผู้คนจากถิ่นอื่น
อพยพเข้าไปอยู่ด้วย เพราะบริเวณพื้นดินเป็นที่อุดมสมบูรณ์ มีลำห้วยน้ำฆ้องทำไร่ทำนาได้ ชุมชนที่เข้ามาอยู่ ในยุคหลังๆ เป็นชมชนลาวจากเวียงจันทน์ ร้อยเอ็ด ในสมัย พ.ศ.๒๔๓๖ ชาวลาวจากนครนายก ,นครราชสีมา จะอพยพกลับเวียงจันทน์ตามคำโฆษณาของฝรั่งเศสที่ยึดครองลาวได้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้า
เจ้าอยู่หัวทรงอนุญาตให้ย้ายถิ่นฐานได้ แต่ไม่ออกนอกพระราชอาณาเขต ชุมชนลาวได้เดินทางมาถึง กุมภวาปีไปเวียงจันทน์ไม่ได้ จึงตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณย่านพันดอน และกุมภวาปีแต่นั้นมา
ลักษณะทั่วไป
เป็นที่ดอน เป็นเนินหรือโคกมีลักษณะสูงๆ ต่ำๆ มีลำห้วยน้ำฆ้องไหลผ่าน
หลักฐานที่พบ
วิหารไม้รูปสามเหลี่ยมทรงมอญ กว้าง ๔๐ เมตร ยาว ๕๐ เมตร มียอดเป็นโดม ๔ โดม มี ๓ ห้องโถง ห้องโถงประธานพื้นที่ ๔๐ ตารางวา อีก ๒ ห้องโถง พื้นที่ห้องละ ๒๐ ตารางวา มีบันไดขึ้น ๒ ด้าน คือ ด้านทิศ ตะวันออกและทิศตะวันตก ตัววิหารหันหน้าไปทางทิศใต้ วิหารก่อสร้างด้วยไม้เนื้อแข็งหลายชนิด เช่น ไม้แคน (ตะเคียน) เป็นต้น วิหารยกพื้นสูงประมาณ ๘๐ เซนติเมตร มีเสาทั้งหมดกว่าร้อยต้นโดม หลังคาสับลายเทพนม(ฉลุลายเทพนม) โถงประธานเดิมใช้เป็นที่ ประดิษฐ์พระประธาน และพระพุทธรูปบูชาต่างๆ ตามคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ว่าที่เหลือนี้เป็นแต่ที่ไม่ต้อง การศิลปกรรมโบราณวัตถุดี ๆ และงดงามทั้งหลายถูกขโมยไป
วิหารไม้หลังนี้ หลังคาประกอบด้วยตัวโหง(นาค) มุขที่ยื่นไปด้านทิศเหนือด้านห้วยน้ำฆ้อง จากคำบอกเล่า ของผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่าหลังคาวิหารด้านทิศเหนือนี้ ช่างออกแบบตัวโหงประดับหลังคางดงามเป็นพิเศษกว่าด้านอื่นๆ เป็นรูปนาคให้น้ำ แก่ห้วยน้ำฆ้อง(ปัจจุบันปรักหักพังลงหมด)
รูปแบบสถาปัตยกรรมวิหารวัดจอมศรี น่าจะเป็นแบบที่พระครูสมุห์สี(พระพิทักษ์คุณาธร)นำมาจาก กรุงเทพฯ ไม่ใช่ลักษณะสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นอีสาน และก่อสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.๒๔๖๔ จัดเป็น สถาปัตยกรรมทรงโดมเพียงแห่งเดียวในภาคอีสาน วิหารนี้ถูกทิ้งร้างไว้กลายเป็นที่อยู่อาศัยของพระเณร ขาดการทะนุบำรุงรักษาจึงทรุดโทรมปรักหักพัง น้ำท่วมวัดทำให้ท่วมพื้นวิหารเสียหาย โบราณวัตถุ ศิลปกรรมถูกขโมยไปเป็นจำนวนมาก เครื่องเรือนโบราณที่
ทำจากไม้เนื้อแข็งอย่างดีถูกทำลายและสูญหายไป เพราะทางวัดได้สร้างพระอุโบสถขึ้นใหม่และศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ เป็นอาคารครึ่งตึกครึ่งไม้ ทางวัดได้ย้ายการประกอบศาสนพิธีไปไว้ที่ศาลาการเปรียญและพระ อุโบสถเวลานี้เสาวิหารเหลือเพียง ๖๐ ต้น ไม้พื้นปรักหักพัง มีปลวกขึ้นไปทำรังบนวิหาร ตัวโหงบนหลังคา
วิหารหักหลุดลงทุกด้านพระพุทธรูปไม้ ศิลปอิสานล้านช้าง พระพุทธรูปปูนปั้น ฝีมือช่างพื้นบ้าน พระพุทธรูปนาคปรก ฝีมือช่างพื้นบ้าน
เส้นทาง
...................จากอุดรธานี โดยทางหลวงหมายเลข ๒ อุดรธานี - กรุงเทพฯ ถึงทางแยก ๓๐ กม. ถึงทางแยกเข้า อำเภอกุมภวาปีเลี้ยวซ้ายไปประมาณ ๑ กม. เข้าบ้านพันดอนไปวัดจอมศรี