MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

จังหวัดอุดรธานี

ประวัติวัดตาลก่องบ้านกลึม (อ่านว่า กะ-ลึม)

สถานที่ตั้ง ตั้งอยู่บ้านกลึม ตำบลเมืองพาน อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี
ประวัติความเป็นมา
........................ตามตำนานพระเจ้าเลียบโลกอันเป็นศาสนาประวัติอันสำคัญของอิสานเล่าว่า บริเวณนี้เป็นที่อยู่ ของกุทโธนาคราช ผู้เป็นเจ้าใหญ่ครองหนองบัวบาน เมื่อพระพุทธองค์และพระอานนท์เสด็จมาโปรดสัตว์โลกที่ ภูกูเวียน (ภูพระบาท) ได้ทรมานกุทโธนาคราชจนยอมรับนับถือพุทธศาสนา และทรมานมิลินนาคราชน้องชาย
กุทโธนาคราชให้เลื่อมใสด้วย จนนาคทั้งสองได้ทูลขอรอยพระพุทธบาทไว้สักการะบูชาแทนพระพุทธองค์ที่ พระพุทธบาทบัวบาน และพระพุทธบาทบัวบก รอยพระบาททั้งสองนี้เป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนทั้งสอง ฝั่งแม่น้ำโขงเป็นอย่างมาก และถือว่าเป็นศาสนสถานอันสำคัญของจังหวัดอุดรธานี เป็นศูนย์รวมศรัทธา
ศูนย์รวมใจของชุมชนบ้านผือ และละแวกนั้น ทั้งยังเป็นชุมชนลาวพวนที่อพยพมาจากเมือง แมด เมืองกาสี แคว้นพวนเชียงขวาง ในคราวศึกฮ่อ ชุมชนเหล่านี้ยังรักษาขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมพวนไว้อย่าง มั่นคง เป็นแหล่งศึกษาชาติพันธุ์ไท-ลาว (พวนในประเทศไทย) ได้อย่างดียิ่ง
ต่อมาบริเวณนี้มีชื่อเรียกว่า เมืองโพพันลำ มีพระภิกษุรูปหนึ่งชื่อ ญาคูลืมบอง (อาจารย์ลืมคบไฟหรือ ไต้) ญาคูลืมบองเป็นพระภิกษุเก่งกล้าสามารถ เจ้าเมืองให้ปกครองบ้านเมืองแทน ญาคูลืมบองมีลูกศิษย์เป็น สามเณร (จัว) อยู่รูปหนึ่ง ชื่อ จัวโพนสะเม็ด ญาคูลืมบองเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของชาวบ้านชาวเมืองมาก เมื่อ
ท่านมรณภาพชาวบ้านจึงขอชื่อของท่านไปเป็นชื่อชุมชนว่า เมืองญาคูลืมบอง เรียกนาน ๆ ไปเลยสั้นเข้าเป็น "กาลึม"
.........................ส่วนสามเณรหรือจัวโพนสะเม็ด ลูกศิษย์ของท่านตามตำนานเล่าว่า ท่านได้ไม้งิ้วดำมาหุงข้าวให้ พระภิกษุสามเณรฉัน ไม่มีใครยอมรับฉัน สามเณรโพนสะเม็ดต้องฉันผู้เดียวจึงมีกำลังมหาศาล เมื่อบวชเป็น พระภิกษุท่านไปบวชที่กรุงศรีลัตตนาคนหุต ได้เป็นอาจารย์สอนหนังสือเจ้าชายล้านช้าง คือ เจ้าสร้อยศรี
สมุทร ท่านได้อุปถัมภ์และช่วยเหลือเจ้าสร้อยศรีสมุทร จนได้เป็นกษัตริย์ครองนครจำปาศักดิ์ และครองศรี สัตตนาคนหุต ต่อมาท่านได้รับสถาปนาตั้งญาคูโพนสะเม็ด เป็นสมเด็จพระสังฆราชล้านช้าง ดูแลปกครอง คณะสงฆ์ล้านช้าง ท่านได้ก่อสร้างศาสนสถานมากมายริมฝั่งแม่น้ำโขงทั้งสองฝั่ง ตั้งแต่เวียงจันทน์ นครพนม
เลยเข้าไปถึงเขมร ได้บูรณะปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมต่อจากพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ไว้ ท่านญาคูโพนสะเม็ดได้ไปมรณภาพในเขตนครจำปาศักดิ์ ประเทศลาว
ความสัมพันธ์กับชุมชน
........................เป็นศูนย์กลางการประกอบพิธีทางศาสนาในวันสำคัญต่างๆ ของชุมชนตลอดเป็นศูนย์รวมความศรัทธา เป็นเนินดินไม่มีคูน้ำล้อมรอบ อยู่เชิงเขาภูพาน เป็นที่ราบลุ่มทำการเกษตร
ลักษณะสถาปัตยกรรม
.......................มีพระพุทธรูปสำริดอันเป็นศิลปกรรมล้านช้างพุทธศตวรรษที่ ๒๑-๒๒ บางองค์ที่ฐานมีจารึกเป็นอักษรขอม มีพระพุทธรูปไม้ศิลปล้านช้างที่งดงาม เป็นฝีมือช่างหลวง โดยมีจำนวน ประมาณ ๒๐ องค์
เส้นทางเข้าสู่วัดตาลก่องบ้านกลึม
.......................มีถนนลาดยางจากจังหวัดอุดรธานีถึงบ้านติ้ว และจากบ้านติ้ว-บ้านเมืองพาน ๗ กิโลเมตร