MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

จังหวัดอุดรธานี

ตำนานบ้านข้าวสาร

ที่ตั้ง
.................บ้านข้าวสารตั้งอยู่ที่ ม.๔ ตำบลข้าวสาร อำเภอบ้านผือ จังหวัดอุดรธานี อยู่ห่างจากตัวอำเภอ ๑๒ กม.
ตามเส้นทางหลวงบ้านผือ หนองบัวลำภู ๑๒ กม. เลี้ยวขวาเข้าหมู่บ้านอีก ๒ กม.
อาณาเขต
ทิศเหนือ ติดกับบ้านกุดเข็ง
ทิศใต้ ติดกับหินตั้ง
ทิศตะวันออก ติดกับบ้านจำปาโมง
ทิศตะวันตก ติดกับบ้านหินตั้ง
ประวัติความเป็นมา
บ้านข้าวสาร มีประวัติความเป็นมา ๒ ทางด้วยกัน
ตำนานหนึ่งเล่าว่า ปู่พระโคตร ย่าพระศรี จากเมืองยศ (ยโสธร) พาผู้คนไปตั้งบ้านเรือนอยู่ติดลำห้วยงาว เรียกว่าบ้านกุงใหญ่ ต่อมาเกิดโรคระบาด ผู้คนล้มตายลงมากจึงย้ายบ้านหนีไปอยู่ทางทิศตะวันออกห่าง จากหมู่บ้านเดิมประมาณ ๒ กม. ที่หมู่บ้านใหม่มีบ่อน้ำบุ้น (น้ำไหลผุดออกมาคล้ายเมล็ดข้าวสาร) แต่หาก เอามือไปรองรับมาดูพบว่าเป็นเม็ดหิน หากเอาลงน้ำจะมองเป็นเมล็ดข้าวสาร ชาวบ้านจึงเรียกบ่อน้ำว่า "บ่อน้ำบุ้นข้าวสาร" เรียกหมู่บ้านว่า "บ้านข้าวสารน้ำบุ้น" ต่อมานายเสถียร นครวาจา นายอำเภอบ้านผือไป เยี่ยมราษฎรษ์ที่บ้านข้าวสารน้ำบุ้น จึงให้ชาวบ้านขุดลอกบ่อและเรียกชื่อบ้านว่า "บ้านข้าวสาร" ตัดคำว่าน้ำบุ้นออกไป (อรุณศักดิ์ กิ่งมณี : ภูมินาม)
จากตำนานบอกเล่าของนายเต้า จันทรา ชาวบ้านข้าวสารว่า บ้านข้าวสารเดิมชื่อ "บ้านเม็ก" ชาวบ้าน เป็นลาวเวียงที่อพยพมาจากวียงจันทน์ ท่าบ่อ ศรีเชียงใหม่ เข้ามาอยู่ (สันนิษฐานว่าแตกศึกฮ่อมา)วันหนึ่งมีชาวบ้านเข้าไปหาของป่า หาหน่อไม้ ในป่าไปพบบ่อน้ำที่มีน้ำ ผุดออกมาตลอดเวลา และมีเมล็ดข้าวสารลอยขึ้นมาด้วย เห็นเป็นอัศจรรย์ก็กลับมาบอกเพื่อนบ้านให้ไปดู เห็นจริงตามคำบอกจึงเรียกบ่อน้ำนี้ว่า "น้ำบุ้นข้าวสาร" นานเข้าตัดคำว่า"น้ำบุ้น" ออกเหลือเป็นบ้านข้าวสาร ชาวบ้านข้าวสาร และผู้คนในละแวกใกล้เคียง ถือเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ บริเวณใกล้บ่อเป็นที่ตั้งศาลปู่ตาของหมู่บ้าน และบริเวณรอบๆบ่อถือเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์ เข็ดขวาง ผู้ใดจะไปล่วงละเมิดหรือลบหลู่ไม่ได้ และชาวบ้าน ข้าวสารได้ใช้บ่อน้ำนี้เป็นบ่อน้ำบริโภคของหมู่บ้านมาจนถึงปัจจุบัน แม้ว่าจะมีประปาหมู่บ้านใช้แล้วก็ตาม
ชาวบ้านก็ยังดูแลรักษาบ่อน้ำบุ้นเป็นอย่างดี คงถือเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ใช้ดื่มใช้กิน และใช้ในพิธีกรรม เช่น พิธีมงคล จะเอาน้ำจากบ่อไปทำน้ำมนต์ในเทศกาลสงกรานต์ น้ำที่สรงน้ำพระตามวัดในหมู่บ้าน หรือที่บ้านจะต้องใช้น้ำจากบ่อน้ำนี้
..........................ความศักดิ์สิทธิ์ของบ่อน้ำ จากคำบอกเล่าของแม่ดอกจันทร์ กุลเสนา ว่า บ่อน้ำนี้เคยแห้งไปเพราะเจ้าที่โกรธ ที่มีชาวบ้านไปอาบน้ำที่บ่อ แล้วเอาผ้าซิ่นไปพาดไว้ที่ปากบ่อ วันรุ่งขึ้นปรากกฎว่าน้ำในบ่อแห้งหมด ไม่มีน้ำกินน้ำใช้ ชาวบ้านต้องมาทำพิธีขอขมาเจ้าที่โดยตั้งศาลเจ้าแม่สองนาง คือเจ้าแม่มณเฑียร และเจ้าแม่มณฑา ไว้ที่ใต้ต้นตะเคียนใหญ่ใกล้กับศาลปู่ตา ได้น้ำกลับมาเหมือนเดิม แต่เมล็ดข้าวสารหายไปตั้งแต่บัดนั้น ไม่กลับมาอีกเลยทุกๆปี ชาวบ้านข้าวสารจะมีพิธีทำบุญบ่อน้ำจะทำในวันหลังจากวันสงกรานต์ คือวันที่ ๑๖ เมษายน จะนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ มาทำบุญตักบาตรถวายภัตตาหารที่บริเวณบ่อน้ำ ขณะที่พระสงฆ์สวดมนต์ จ้ำจะตั้งสำรับเครื่องเซ่นไหว้ด้วยการทำกระทงหน้าวัว ใส่อาหารคาวหวาน และน้ำอบน้ำหอมปักธง ๓ ชาย แล้วนำไปวางไว้ ที่บ่อจุดเทียนที่ขอบบ่อ ทั้ง ๔ ด้าน โยงสายสิญจน์ไปรอบบ่อ และศาลเจ้าแม่สองนาง จ้ำจะเป็นผู้นำกล่าวเชิญเจ้าที่ เจ้าแม่สองนางมารับเครื่องไหว้ จากนั้นจะนำน้ำอบน้ำหอม รดบ่อและศาลเจ้าแม่สองนาง ขอให้ช่วยปกปักรักษาบ้านให้ร่มเย็น บ่อน้ำบุ้นข้าวสารยังคงเป็นบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ของชาวหมู่บ้านข้าวสาร เป็นที่ยำเกรงไม่มีผู้ใดกล้าล่วงละเมิดได้ และยังคงเป็นบ่อาน้ำที่ใช้บริโภคมาจนถึงทุกวันนี้ และหากถามผู้เฒ่าผู้แก่ของหมู่บ้าน ก็จะบอกว่าปู่ย่าตายาย ได้เคยเห็นเมล็ดข้าวสารในบ่อมาแล้ว