MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | คำคมนักปราชญ์| ตำนานพื้นบ้าน | รักษ์ดนตรีไทย | มวยไทย | ภาพศิลป์ไทย | สินค้าฝากขาย | เทคนิคโปรแกรม | ที่นี่มีแต่ของฟรี | ลิ้งค์สุดยอด | ติดต่อเรา |
....

จังหวัดอุดรธานี

ตำนาน พระธาตุนางเพ็ญ

เนื้อเรื่อง
.....................ท้าวศรีสุทโธ และนางจันทา แม่เมืองครองเมืองเพ็ง ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเพ็ง แม่น้ำใหญ่ ปกครองดูแล ประชาชนด้วยความยุติธรรม บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข ท้าวศรีสุทโธและแม่เมืองจันทาได้ลูกสาวหน้าสะสวย เหมือนเดือนเพ็ญ จึงให้ชื่อว่า นางเพ็ง หรือนางเพ็ญ เมื่อนางเพ็งเป็นสาวขึ้น ความงามของนางก็ร่ำลือไปไกล เป็นเหตุให้เจ้าเมืองขุนนาง และเศรษฐีเมือง ต่างๆ มาหลงรักอยากได้นางเป็นคู่ครอง ต่างก็จัดหาเครื่องบรรณาการและกองกำลังสู่ขอนาง ท้าวศรีสุทโธ
และแม่เมืองจันทาทุกข์ใจมาก เพราะไม่ว่าจะยกนางเพ็งให้แก่ใครก็ไม่พ้นสงคราม ชาวเมืองจะต้องล้มตาย บ้านเมืองจะเดือดร้อน นางเพ็งรู้ถึงความทุกข์ใจของบิดามารดาดีทั้งสงสารประชาชนที่จะมาล้มตายด้วย นางเพ็งเป็นต้นเหตุ เพื่อช่วยชีวิตชาวเมือง เพื่อให้บิดามารดาพ้นจากความเดือดร้อนที่ต้องสูญเสียประชาชน และบ้านเมือง นางจึงตัดสินใจกระโดดบ่อน้ำกลางเมืองตาย เพื่อตัดสงคราม ก่อนกระโดดน้ำนางได้เอาใบ
ลำเจียกมาจารึกข้อความลาบิดามารดา และบอกสาเหตุที่ต้องตัดสินใจฆ่าตัวตาย และก่อนจะตายนางได้ กล่าวแสดงความน้อยอกน้อยใจ ที่นางต้องมารับเคราะห์กรรมโดยที่ไม่มีความผิดอันใดเลย นางจึงกล่าวสาป แช่งเมืองเพ็งไว้ว่า "แต่ต่อนี้ไปอย่าให้มีผู้ใดมาใส่ใจเมืองเพ็งอีกเลย ขอให้เมืองเพ็งจงมีแต่ความเศร้าหมอง ขอแต่ชาวเมืองเพ็งเท่านั้นที่อยู่ดีมีสุข" แล้วนางก็กระโดดลงบ่อน้ำไป
บรรดาเจ้าเมือง ขุนนาง เศรษฐีทั้งหลายที่หวังปองนางเพ็ง ต่างเศร้าโศกเสียใจเพียงอกจะแตก จึงเรียก เมืองเพ็งว่า "เมืองอกแตก"
......................... ท้าวศรีสุทโธและแม่เมืองจันทาสั่งให้เสนาอำมาตย์และชาวเมืองขนแก้วแหวน เงินทอง ทรัพย์สมบัติมีค่าใส่ลงไปในบ่อแล้วสร้างพระธาตุครอบบ่อน้ำนั้นไว้ เพื่อมิให้ผู้ใดรบกวนนางอีกต่อไป พระธาตุนั้นเรียกว่า "พระธาตุนางเพ็งหรือพระธาตุนางเพ็ญ" มาจนทุกวันนี้ เมื่อถึงปีจะมีการทำบุญอุทิศส่วน
กุศลไปให้นาง โดยมีใบบอกไปยังเมืองต่างๆ ให้จัดบั้งไฟหมื่น บั้งไฟแสนมาจุดประชันกัน และมีมหรสพฉลอง ๗ วัน ๗ คืน จนเกิดเป็นประเพณีบุญบั้งไฟอำเภอเพ็ญมาจนทุกวันนี้ ต่อมาเพื่อชุมชนเมืองเพ็งขยายตัวขึ้น จึงได้รับการยกเป็นอำเภอหนึ่งในจังหวัดอุดรธานี และเรียกชื่อ
อำเภอตามพระธาตุองค์นั้นว่า อำเภอเพ็ญมาจนทุกวันนี้ และพระธาตุนางเพ็ญนี้ ชาวอุดร หนองคาย และ ละแวกใกล้เคียงนับถือว่าเป็นพระธาตุศักดิ์สิทธิ์
คติ/แนวคิด
.......................ทำให้ทราบประวัติความเป็นมาของบ้านเมือง ในท้องถิ่นและเห็นความยิ่งใหญ่ในการเสียสละชีวิตเพื่อ บ้านเมือง ประชาชน ของผู้หญิงคนหนึ่ง ที่มีความรักบ้านเมืองประชาราษฎรมากกว่าชีวิตของตน