MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | ตำนานพื้นบ้าน | ติดต่อเรา |
.. ..

ประวัติพระแท่นดงรัง


สถานที่ตั้ง ตำบลพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี
ประวัติความเป็นมา
............พระแท่นดงรัง มีผู้ค้นพบเป็นครั้งแรกตั้งแต่สมัยใดยังไม่มีหลักฐานปรากฏชัด แต่ที่ทราบแน่นอนคือ พระแท่นดงรังเป็นที่รู้จักแพร่หลาย โดยทั่วไปตั้งแต่ก่อนรัชสมัยของพระเจ้าบรมโกศแห่งกรุงศรีอยุธยา ดังปรากฏในข้อความตอนหนึ่งในหนังสือตำนานพระพุทธเจดีย์ว่า
"พระบริโภคเจดีย์ คงนับถือพระศรีมหาโพธิ์พันธุ์ลังกามาอย่างสมัยสุโขทัยมาในชั้นหลังทีเดียวเห็นจะเป็นในรัชกาลพระเจ้าบรมโกศได้พันธุ์พระศรีมหาโพธิมาจากลังกา.. " นอกจากพระศรีมหาโพธิ์เกิดมีรอยพระบาทและพระพุทธฉายในแขวงจังหวัดสระบุรี พระแท่นดงรังในแขวงจังหวัดราชบุรี (เดิมอำเภอท่ามะกาขึ้นอยู่กับจังหวัดราชบุรี) และพระแท่นศิลาอาสน์ ในแขวงทุ่งยั้ง นับถือกันว่าเป็นบริโภคเจดีย์มาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ความสำคัญต่อชุมชน
..............เป็นปูชนียสถานที่ประชาชนนิยมนับถือมากแห่งหนึ่ง เพราะเชื่อว่า พระพุทธเจ้าเสด็จมาปรินิพพาน ณ สถานที่แห่งนี้ เพราะลักษณะภูมิประเทศที่รายล้อมพระแท่น มีลักษณะคล้ายคลึงกับสถานที่ ที่พระพุทธเจ้าเสด็จเข้าสู่ปรินิพพานในประเทศอินเดียเป็นอย่างมาก คือมีแท่นพระบรรทม และต้นรังคู่หน้าวิหารพระแท่น
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
...............มีลักษณะเป็นแท่นศิลาใหญ่ สูงข้างหนึ่งต่ำข้างหนึ่ง ยาวขนาดเท่าตัวคนทางด้านสูงของพระแท่น มีหินอีกก้อนหนึ่งวางทับซ้อนแนบสนิทเป็นเนื้อเดียวกับหินชั้นล่าง ทำให้มองดูคล้ายพระเขนย แท่นหินชั้นล่างที่รองรับพระแท่นพื้นค่อนข้างขรุขระ เจ้าของเดิมจึงได้ปั้นบัวรองพระแท่นแล้วปิดทองไว้ พื้นกลางพระแท่นมีผ้า
จีวรห่มคลุมสูงขึ้นไปจนดูคล้ายรูปคนนอน.
เส้นทางเข้าสู่พระแท่นดงรัง
.............จากกาญจนบุรีไปตามเส้นทาง กาญจนบุรี-ท่ามะกา และเดินทางต่อไปที่ตำบลพระแท่น