MENU
หน้าแรก | สมุดเยี่ยม l webbord | ตำนานพื้นบ้าน | ติดต่อเรา |
.. ..

ประวัติ เสาชิงช้า


สถานที่ตั้ง ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของโบสถ์พราหมณ์ หรือหน้าวัดสุทัศน์เทพวนาราม แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร
ประวัติความเป็นมา
.................มีพราหมณ์ นาฬิวัน ชาวเมืองสุโขทัย มีนามว่า พระครูสิทธิชัย (กระต่าย) นำความขึ้นกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดีศรีสินทรมหาจักรีบรมนาถ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ว่าการประกอบพิธีตรียัมปวายอันเป็นประเพณีของพราหมณ์มีมาแต่โบราณจำเป็นต้องมีการโล้ชิงช้า พระ
พุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเสาชิงช้าขึ้นตรงหน้าเทวสถาน เมื่อวันพุธ แรม ๔ ค่ำ เดือน ๕ ปีมะโรง พุทธศักราช ๒๓๒๗ ต่อมาได้สร้างโรงก๊าด (โรงเก็บน้ำมันก๊าด) ขึ้น ณ เทวสถาน จึงย้ายเสาชิงช้ามา ณ ที่ตั้งปัจจุบัน การสร้างเสาชิงช้าขึ้นก็เพื่อจะรักษาธรรมเนียมการสร้างพระนครตามอย่างโบราณไว้ โดย
ถือคติว่าจะทำให้พระนครมีความมั่นคงแข็งแรง กรมศิลปากรประกาศขึ้นทะเบียนเสาชิงช้าในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๖๖ ตอนที่ ๖๔ วันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ หน้า ๕๒๘๑ เป็น "โบราณวัตถุสถาน" สำคัญของชาติ ประกาศ ณ วันที่ ๑๘ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๙๒ การปฏิสังขรณ์เสาชิงช้า ได้รับการปฏิสังขรณ์เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๓ มีคำจารึกติดไว้ที่เสาชิงช้า ดังนี้
"ไม้เสาชิงช้าคู่นี้ กับทั้งเสาตะเกียบและทับหลัง เมื่อถึงคราวเปลี่ยนเสาเก่า บริษัท หลุยตีลี โอโนเวนส์ จำกัด ซึ่งทำการค้าไม้ได้ให้ไม้สร้างขึ้นใหม่ เพื่อเป็นที่ระลึกแก่นายหลุยส์โทมัส เลียวโอเวนส์ ซึ่งได้ถึงแก่กรรมไปแล้ว เป็นผู้ที่เคยเข้ามาตั้งเคหะสถาน อยู่ในประเทศสยามกว่า ๕๐ ปี สาชิงช้านี้ได้สร้างเสร็จ เมื่อวันที่
๑๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๓"
.................พุทธศักราช ๒๔๙๐ เกิดไฟไหม้เสาชิงช้า เนื่องจากธูปกราบไหว้ไฟจากธูปตกลงไปในรอยแตก ทำให้คุไหม้เสาขึ้น รัฐบาลครั้งนั้นมีดำริจะรื้อ แต่เมื่อมีเสียงวิพากวิจารณ์มากขึ้นจึงระงับไว้มีคำสั่งให้เทศบาลนครกรุงเทพฯ ซ่อมกระจังไว้ชั่วคราว
.................พุทธศักราช ๒๕๐๒ กระจังที่เป็นลวดลายผุลง ได้เปลี่ยนใหม่และทาสี
.................พุทธศักราช ๒๕๑๓ สภาพของเสาชิงช้าชำรุดทรุดโทรมมาก ต้องเปลี่ยนเสาใหม่ เพื่อให้มั่นคงแข็งแรงการ ปรับปรุงบูรณะ ได้พยายามรักษาลักษณะเดิมไว้ทุกประการ งานแล้วเสร็จ และได้ทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๒๙ มิถุนายน ๒๕๑๕
ลักษณะทางสถาปัตยกรรม
..................เสาชิงช้ามีความสูงจากฐานกลมถึงยอดลายกระจังไม้ประมาณ ๒๑.๑๕ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางฐานกลมประมาณ ๑๐.๕๐ เมตร ฐานกลมก่อด้วยหินสีขาว พื้นบนปูกระเบื้องดินเผาสีแดง มีบันได ๒ ชั้น ทั้ง ๒ ด้าน ที่ถนนบำรุงเมืองตัดผ่านตามแนวโค้งของฐาน ติดแผ่นจารึกเสาชิงช้า เสาชิงช้าแกนกลางคู่และเสา
ตะเกียบ ๒ คู่ เป็นเสาหัวเม็ดล้วนทำด้วยไม้สักกลึงกลมติดแผ่นจารึกเสาชิงช้า กระจังและหูช้างไม้เป็นลวดลายไทย ติดสายล่อฟ้าจากลวดลายกระจังด้านบนลงดิน
ความสำคัญต่อชุมชน
..................เป็นโบราณวัตถุสถานที่สำคัญของกรุงเทพมหานคร ซึ่งตามประวัติได้ใช้โล้ชิงช้า ในพิธีกรรมตรียัมปวาย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ และเลิกโล้ชิงช้าในสมัยรัชกาลที่ ๕
เส้นทางเข้าสู่เสาชิงช้า
.....................เสาชิงช้าอยู่หน้าโบสถ์พราหมณ์ และวัดสุทัศน์เทพวราราม จึงสามารถเข้าได้โดยผ่านถนนดินสอเข้ามาตัดกับถนนบำรุงเมือง